Abstract:
สำมะง่าเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในทางการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ ในการศึกษานี้ทำการตรวจสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารประกอบที่แยกได้จากส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเดตจากใบสำมะง่าในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) สาร p-anisic acid, acacetin, hispidulin และ diosmentin ซึ่งได้จากการแยกและทำให้บริสุทธิ์ โดยวิธีซิลิกาเจลโครมาโทกราฟีแบบคอลัมน์ และพิสูจน์โครงสร้างด้วยการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโครปีและเปรียบเทียบข้อมูลกับสเปกตรัมของ NMR ของรายงานก่อนหน้านี้ สารประกอบ acacetin, hispidulin และ diosmentin สามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีกว่า p-anisic และ aminoguanidine (สารยับยั้ง iNOS) สาร hispidulin ถูกเลือกไปศึกษาต่อเพื่อตรวจสอบกลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของมัน สาร hispidulin ยังสามารถลดการผลิตพรอสตาแกลนดิน E2 ในเซลล์ RAW 264.7 ที่สัมผัสกับ LPS ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น hispidulin ถูกพบว่ายับยั้งการแสดงออกของ mRNA และโปรตีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase (COX-2) ในลักษณะนี้ขึ้นกับความเข้มข้น ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า acacetin, hispidulin และ diosmentin ที่แยกได้จากใบสำมะง่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ กลไกในการต้านอักเสบของ hispidulin เกิดผ่านการยับยั้งการแสดงออกของ iNOS และ COX-2 ที่ระดับการถอดรหัสและการแปลรหัส ของยีน นอกจากนี้รายงานนี้ยังเป็รายงานครั้งแรกของการแยกสาร hispidulin และ diosmentin ได้จากใบสำมะง่า ผลการศึกษาครั้งนี้อาจช่วยสนบัสนุนประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของใบสำมะง่า