Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินผิงเหยาจากแนวคิดของผู้บริโภคและเพื่อพิสูจน์แนวคิดเรื่อง “ทุกคนคือนักออกแบบ”โดยการทําให้ผู้บริโภคสามารถนําความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจของตนเองมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจริงได้ด้วยการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ และดําเนินการบันทึกประสบการณ์และข้อเสนอแนะจากการใช้งานแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค นักออกแบบและช่างฝีมืองานหัตถกรรม โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาได้เป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคพบว่า แนวคิด “Re-design” ของ Kenya Hara สามารถทําให้ผู้บริโภคออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการมองข้ามความเคยชินในชีวิตประจําวันจะสามารถทําให้ทุกคนกําหนดรูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับสภาพแวดล้อมการใช้งานของตนเองได้มากที่สุด ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคพบว่า (1) การทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Do it yourself) หรือ D.I.Y. สามารถทําให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย เข้าใจง่าย เรียนรู้ได้ไว และไม่จําเป็นต้องมีความรู้ด้านงานฝีมือที่ลึกซึ้งแต่ก็ไม่สามารถทําให้ผู้บริโภคแสดงพลังแห่งการสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบของตนเองออกมาได้เพราะขั้นตอนทั้งหมดเหมือนกับเครื่องจักรที่ดําเนินการตามการออกแบบที่มีไว้แล้ว (2) การสั่งทําผลิตภัณฑ์ แม้ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ตามแบบเฉพาะที่ตนเองต้องการ แต่ในกระบวนการทั้งหมดผู้ที่ถ่ายทอดการสร้างสรรค์และแนวคิดก็คือนักออกแบบไม่ใช่ผู้บริโภค ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเพื่อการออกแบบจากแนวคิดของผู้บริโภคและการบันทึกประสบการณ์การใช้งานแอพพลิเคชั่นจากกลุ่มเป้าหมาย พบว่าแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสามารถทําให้ผู้บริโภคจัดทําผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินผิงเหยาที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านความสามารถของผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์จากแนวคิดและมีเอกลักษณ์ตามแบบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยแอพพลิเคชั่นถือเป็นเวทีใหญ่ที่ทําให้สามารถบรรลุแนวคิด เรื่อง “ทุกคนคือนักออกแบบ” นอกจากนี้ นักออกแบบยังมีเวทีแสดงความสามารถของตนเองและสามารถนําแนวคิดและความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการออกแบบอื่น ๆ ได้อย่างสมดุล ตลอดจนทําให้ช่างฝี มือหัตถกรรมมีอาชีพและรายได้มากขึ้นอันจะส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์งานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมให้ยังคงมีคุณค่าสืบไป