Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ร่วมแหล่งท่องเที่ยว
สโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และออกแบบและพัฒนาอัตลักษณ์องค์กรณ์ชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีขอบเขตการวิจัย คือ แหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในพื้นที่ศึกษาบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ตะวันออก-ตะวันตก หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาพสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น โดยสอบถามจากผู้นำชุมชน (นายอำเภอ) จำนวน 10 คน ในเส้นทางหมายเลข 9 ผ่านตามการจัดกลุ่ม 3 ลักษณะ ประกอบด้วย กลุ่มสถาปัตยกรรม กลุ่มศิลปกรรม และกลุ่มหัตถกรรม
ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่วิจัย คือ บ้านป่าเหลื่อม (แก่งดอนจาน) ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น เป็นต้นแบบของแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์เพราะมีการสงวนรักยาหรืออนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีรูปแบบวัฒนธรรมที่มีความสงบสุข มีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง มีการปลูกจิตสำนึกในรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง มีการแสดงถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรม มีการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการจำแบกชาติพันธุ์ใบชุมชน มีการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์ในชุมชน มีการรณรงค์ให้ใส่ชุดเสื้อผ้าที่ผลิตในท้องถิ่น และประชาชนรับประทามอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบพื้นบ้านตามฤดูกาล การออกแบบและพัฒนาอัตลักษณ์องค์กรชุมชนต้นแบบเป็นแหล่งท่องเที่ยวสโลว์ทาวน์ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผลการวิจัยพบว่า การใช้เส้นในการออกแบบเส้นตรงทั้ง
แนวนอนแนวตั้งหรือแม้กระทั่งเส้นเฉียงแสดงออกถึงความเรียบง่ายตามวิถีของเมืองสโลว์ทาวน์ ในการใช้สีในการออกแบบใช้สีที่มีเชิงความหมายและความรู้สึก ทั้งสีฟ้า แดง และเหลือง สีน้ำเงินหรือสีดำ มีความหมายถึงการทำพิธีในการปักเฉลว ในวันศุกร์ และสีฟ้าเป็นสีประจำวันศุกร์ มีความรู้สึกถึงความสดใส ร่มเย็น สดชื่น และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ สีแดงหรือสีชมู มีความหมายถึงครั่ง ที่เป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ที่นำมาทำพิธีการปักเฉลว มีความรู้สึกถึงความสวยงาม น่าเชื่อถือ และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ สีเหลือง มีความหมายถึงเป็นสีของฝ่ายผูกแขนและดินสอพองที่เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในการนำมาทำพิธีปักเฉลวมีความรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์และเรียบง่ายตามวิถีของสโลว์ทาวน์ การใช้รูปร่างในการออกแบบผู้วิจัยได้เลือกนำรูปร่างของเฉลว แบบ 5 มุม