DSpace Repository

การเพิ่มคุณภาพและคุณค่าของการผลิตหอยนางรมสด จากชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา ภาณุตระกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1051
dc.description.abstract หอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เป็นสัตว์น้ำที่เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป หอยนางรมดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ และกินอาหารแบบกรองกิน ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนจุลชีพ เช่น แบคทีเรียก่อโรค รวมถึงโลหะจากมวลน้ำ ในการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการลดแบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera และ E. coli ในหอยนางรมด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ในระบบ Depuration แบบน้ำหมุนวนระบบปิด ที่อัตราการไหลของน้ำ 6 ลิตรต่อนาที และ 3 ลิตรต่อนาที พบว่าในทั้งสองการทดลองปริมาณแบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus และ V. cholera ในหอยนางรมมีค่าลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านการ Depuration ได้ 3 ชั่วโมง จากนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างชั่วโมงที่ 4-20 แล้วจึงเริ่มลดลงอีกจนไม่สามารถตรวจวัดได้ที่ชั่วโมงที่ 96 ส่วนปริมาณ E. coil มีค่าเพิ่มขึ้นในชั่วโมงที่ 3 และลดลงจนตรวจไม่พบที่ 96 ชั่วโมง การทดลองลดโลหะหนักในหอยนางรมจากอ่างศิลาโดยกระบวนการ Depuration ในระบบน้ำไหลวนแบบปิดขนาดเล็ก ซึ่งออกแบบให้ถ่านกัมมันต์ และซีโอไลท์ดูดซับโลหะหนักน้ำทะเล พบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb และZn ที่ 0 ชั่วโมง เท่ากับ 0.08±0.02 μ g/g, 26.85±6.08 μ g/g, 4.12±0.73 ng/g, 0.18±0.02 μ g/g, และ 198.35±72.73 μ g/g ตามลำดับ ความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb และ Zn ที่ 48 ชั่วโมง ลดลงเท่ากับ 0.03±0.03 μ g/g, 15.90 ±4.03 μ g/g, 2.51±0.33 ng/g, 0.14±0.04 μ g/g, และ 98.74±51.34 μ g/g ตามลำดับ โดยค่าความเข้มข้นที่ 48 ชั่วโมงของ Cd, Cu, Hg และ Zn มีค่าความเข้มข้นต่ำกว่าชั่วโมงเริ่มต้นที่ 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ยกเว้น Pb โดยอัตราการลดลงของCd, Cu, Hg และ Zn มีค่าเท่ากับ 0.001 μg/hr, 0.228 μg/hr, 0.033 ng/hr และ 2.705 μg/hr ตามลำดับ จากการทดลองนี้พบว่า ระดับความเข้มข้นเริ่มต้นของ Cu และ Zn ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เมื่อผ่านกระบวนการ Depuration แล้วมีค่าลดลงมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปริมาณเข้มข้นของโลหะหนักในหอยนางรมมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับเวลาที่ 0 ถึง 48 ชั่วโมง th_TH
dc.description.sponsorship รายงานฉบับสมบูรณ์โครงงานวิจัยทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีะจำปีงบประมาณ 2550-2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การปนเปื้อนในอาหาร th_TH
dc.subject โปรโตซัวก่อโรค th_TH
dc.subject หอยนางรม - - การปนเปื้อน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การเพิ่มคุณภาพและคุณค่าของการผลิตหอยนางรมสด จากชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Quality improvement and value addes of fresh oyster production from the east coast of Thailand en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552
dc.description.abstractalternative Oyster (Saccostrea cucullata) is one of the most favorite seafood for this. Oyster is a sessile species and filter feeder. Hence they have a high chance to accumulate microbial such as pathogenic bacteria and heavy metals from surrounding water. The efficiency in decreasing total Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera and E. coli in live oyster of 2 closed circulate depuration systems, with 6 L/min and 3 L/mins flow rate were compared. Ultraviolet lamp was used as the main process to reduce bacteria contamination in flowing water. The depurated oysters were collected at 0, 3, 6, 12, 24, 48, 72 and 96 hours for total Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera and E. coli count. Results show that in both experiments total Vibrios and V. cholera in oysters were rapidly decreased within the first 3 hours of the depuration processed in both experiments . However, the numbers of these bacteria in oyster were found to rise within 4 to 20 hour before decreased to undetectable level at 96 hour. The amount of E. coli was increased within the first 3 hour and reduced to undetectable after 96 hours. Close circulation depuration system was used to experimentally reduce heavy metal concentrations in oyster from Angsila bay. Activated carbon and zeolite were used to absorb heavy metals from the oyster. Concentration of Cd, Cu, Pb, Zn and Hg in oyster before the depuration process (0 hour) were 0.08±0.02 μ g/g, 26.85±6.08 μ g/g, 0.18±0.02 μ g/g, 198.35±72.73 μ g/g and 4.12±0.73 ng/g wet weight, respectively, Cu and Zn concentrations in oyster before depuration were high than safty standard. All of the heavy metals except Pb in oyster showed reducing patterns with increasing depuration period. Their concentrations after 48 hours depuration were significantly (P<.05) lower than at 0 hours. Concentration of Cd, Cu, Pb, Zn and Hg in oyster after 48 hours depuration were 0.03±0.03 μ g/g, 15.90 ±4.03 μ g/g, 0.14±0.04 μ g/g, 98.74±51.34 μ g/g and 2.51±0.33 ng/g wet weight, respectively. Reducing rate of Cd, Cu, Zn and Hg in oyster were 0.025 μ g/day, 5.474 μ g/day, 54.809 μ g/day and 0.804 μ ng/day. All of the heavy metal concentrations in oyster after the depuration process were within safety standard for human consumption. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account