dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์เซอโรวาของ Salmonella ในจิ้งจก และศึกษาความไวต่อยาปฏิชีวนะบางชนิดของ Salmonella ดดยใช้ตัวอย่างจิ้งจก
จากชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง ได้แก่ ชุมชนมักกะสัน ชุมชนช่องนนทรีย์ ชุมชนคลองเตย ชุมชนลาดพร้าว และชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา
รวมทั้งสิ้น 900 ตัวอย่าง พบ Salmonella ทั้งหมด 296 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32.98 ) โดยจิ้งจกจากชุมชนมักกะสัน พบเชื้อมากที่สุดและชุมชนหลังบ้านมนังคศิลาพบเชื้อน้อยที่สุด ส่วนเดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงเวลาที่พบเชื้อมากที่สุด และเดือนธันวาคมพบเชื้อน้อยที่สุด สำหรับเซอโรวาของ Salmonella ที่พบมีจำนวน 10 เซอโรวา โดยพบ S. weltevreden มากที่สุด (ร้อยละ 47.97) รองลงมาได้แก่ S. brunei และ S. lexington (ร้อยละ 10.81 เท่ากัน), S. weston (ร้อยละ 6.42), S. IV 4.3 :z:z:-( ร้อยละ 5.74 ),S. anatum
( ร้อยละ 5.41 ),S. I8:20:-:- ( ร้อยละ 4.73 ),S. saintpaul ( ร้อยละ 3.72 ) และ S. albany
( ร้อยละ 3.04 ) ตามลำดับ ส่วน S.derby พบน้อยที่สุด ( ร้อยละ 1.35 ) การนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจก จำนวน 120 ตัวอย่าง พบจำนวนแบคทีเรียในลำไส้จิ้งจกจากชุมชนคลองเตยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( 1.32 × 10 เซลล์ต่อกรัม ) และจิ้งจกจากชุมชนหลังบ้าน
มนังคศิลาพบแบคทีเรียมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( 0.79 × 10 เซลล์ต่อกรัม ) สำหรับเดือนพฤษภาคมพบแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจกในแต่ละชุมชนมีจำนวนสูงสุด ส่วนเดือนมกราคมจะพบแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจกในแต่ละชุมชนมีจำนวนต่ำที่สุด เมื่อนำ Salmonella ทุกเซอโรวาไปทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ 6 ชนิด พบว่า Salmonella ทุกเซอโรวาถูกทำลายได้ง่ายด้วย ampicillin, chloramphenicol, kanamycin และ cotrimoxazole แต่ S. lexington จากจิ้งจกในชุมชนมักกะสัน ช่องนนทรี ลาดพร้าวและหลังบ้านมนังคศิลา และ S. anatum กับ S. brunei จากจิ้งจกในชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา จะดื้อต่อ tetracycline ส่วน S. derby จากจิ้งจกในชุมชนคลองเคยดื้อต่อ streptomycin |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to analyze serovar of salmonella in house lizards, as well as investigete the sensitivity of salmonella to some kinds of antimicrobial agents by using 900 house lizards, selected as the samples of this study, from five crowed communities in greater Bangkok. These are Makhason, Chong Nonsee, Khlong-teue, Lardphrau and the community at the rear of Manangkhasila House. It was found in this research that there were totally 296 samples
( 32.98% ) of salmonella. Among these there are the most kinds of salmonella in the house lizards selected from Makhason, whereas the least kinds were found in the house lizards from the area at the rear of Manangkhasla House. Besides, May was the month salmonella were found the most and December was the least. The findings also indicated that there were ten serovars of salmonella. Among these, S. weltevreden were found the most ( 47.97% ) then S.brunei and S. lexington ( each was 10.81% ), S. weston ( 6.42% ), S.IV4:3:z:z:- ( 5.74% ), S. anatum ( 5.41% ), S. I8:20:-:- ( 4.73% ), S. saintpaul ( 3.72% ) and S. albany ( 3.04% ) respectively. S. derby was the kind of serovar which was found the least ( 1.35% ) the total of bacterial counts from the 120 selected house lizard intestinal tract showed that there was the highest average number of the bacteria found in the house lizard intestinal tract selected from Khlong-teue ( 1.32 × 10 cells per gram ), whereas those from the area at the rear of Manangkhasila House showed the lowest average number of the bacteria ( 0.79 × 10 cells per gram ). It also showed that May was the month bacteria in the house lizard intestinal tract selected from each of the five communities were found the most, whereas January was the least. After testing the salmonella for its sensitivity to six antimicrobial agents, the test indicated that every serovar of salmonella could be destroyed easily by ampicillin, chloramphenicol, kanamycin and cotrimoxazole. However, S. lexinton from Makhason, Chong Nonsee, Lardphrau and the area at the rear of Manangkhasila House, and S. anatum and S. brunei in those selected from the area at the rear of Manangkhasila House resisted tetracycline but S. derby in those selected from Khlong-teue resisted streptomycin. |
en |