Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์เซอโรวาของ Salmonella ในจิ้งจก และศึกษาความไวต่อยาปฏิชีวนะบางชนิดของ Salmonella ดดยใช้ตัวอย่างจิ้งจก
จากชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง ได้แก่ ชุมชนมักกะสัน ชุมชนช่องนนทรีย์ ชุมชนคลองเตย ชุมชนลาดพร้าว และชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา
รวมทั้งสิ้น 900 ตัวอย่าง พบ Salmonella ทั้งหมด 296 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32.98 ) โดยจิ้งจกจากชุมชนมักกะสัน พบเชื้อมากที่สุดและชุมชนหลังบ้านมนังคศิลาพบเชื้อน้อยที่สุด ส่วนเดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงเวลาที่พบเชื้อมากที่สุด และเดือนธันวาคมพบเชื้อน้อยที่สุด สำหรับเซอโรวาของ Salmonella ที่พบมีจำนวน 10 เซอโรวา โดยพบ S. weltevreden มากที่สุด (ร้อยละ 47.97) รองลงมาได้แก่ S. brunei และ S. lexington (ร้อยละ 10.81 เท่ากัน), S. weston (ร้อยละ 6.42), S. IV 4.3 :z:z:-( ร้อยละ 5.74 ),S. anatum
( ร้อยละ 5.41 ),S. I8:20:-:- ( ร้อยละ 4.73 ),S. saintpaul ( ร้อยละ 3.72 ) และ S. albany
( ร้อยละ 3.04 ) ตามลำดับ ส่วน S.derby พบน้อยที่สุด ( ร้อยละ 1.35 ) การนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจก จำนวน 120 ตัวอย่าง พบจำนวนแบคทีเรียในลำไส้จิ้งจกจากชุมชนคลองเตยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( 1.32 × 10 เซลล์ต่อกรัม ) และจิ้งจกจากชุมชนหลังบ้าน
มนังคศิลาพบแบคทีเรียมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( 0.79 × 10 เซลล์ต่อกรัม ) สำหรับเดือนพฤษภาคมพบแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจกในแต่ละชุมชนมีจำนวนสูงสุด ส่วนเดือนมกราคมจะพบแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้จิ้งจกในแต่ละชุมชนมีจำนวนต่ำที่สุด เมื่อนำ Salmonella ทุกเซอโรวาไปทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ 6 ชนิด พบว่า Salmonella ทุกเซอโรวาถูกทำลายได้ง่ายด้วย ampicillin, chloramphenicol, kanamycin และ cotrimoxazole แต่ S. lexington จากจิ้งจกในชุมชนมักกะสัน ช่องนนทรี ลาดพร้าวและหลังบ้านมนังคศิลา และ S. anatum กับ S. brunei จากจิ้งจกในชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา จะดื้อต่อ tetracycline ส่วน S. derby จากจิ้งจกในชุมชนคลองเคยดื้อต่อ streptomycin