Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจในการประเมินผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์การกำหนดราคาขายจากข้อมูลการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับระบบมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจโดยใช้กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายลดลงอย่างมีนัยสำคัญเก็บรวมรวบข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิจากการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนก จำนวน 8 แผนกและจากงบการเงินและรายงานการผลิตของบริษัทย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2561 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการกำหนดตัวผลักดันต้นทุน และจัดสรรต้นทุนและค่าใช้จ่ายดำเนินงานเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) ร่วมกับการคำนวณต้นทุนเงินทุนจากแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) และนำข้อมูลต้นทุนดังกล่าวไปใช้ในการวิเคราะห์ราคาขาย ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนการผลิตที่คำนวณด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ มีต้นทุนสูงกวก่าต้นทุนเดิม และอีก 4 ผลิตภัณฑ์มีต้นทุนต่ำกว่าต้นทุนเดิม และเมื่อใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับระบบมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ พบว่า กำไรต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ มีกำ ไรลดลงหรือมีกำไรที่ติดลบมากขึ้น มีเพียง 1 ผลิตภัณฑ์ที่กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการคำนวณกำไรแบบเดิม ผลการนำต้นทุนการผลิตจากวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจไปวิเคราะห์ในการกำหนดราคาขายโดยวิธี Cost-Based Pricing 10% พบว่า การใช้ต้นทุนเดิมในการกำ หนดราคาขายจะส่งผลให้ราคาขายต่ำไป จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ และราคาขายสูงไป จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้การตั้งราคาขายไม่บรรลุกำไรตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และอาจส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้