กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9987
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ssocited with helth-relted qulity of life mong pregnnt women with dibetes mellitus in public hospitls, upper northern region thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษา เชื้อหอม
ศิริวรรณ แสงอินทร์
กนกอร ปัญญาโส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์
เบาหวานในสตรีมีครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารก ดังนั้น จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงความสัมพันธ์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะเบาหวาน ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 150 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบวัดคุณภาพชีวิต SF-12 เวอร์ชั่น 2 แบบสอบถามการจัดการตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติสัม ประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพมีค่าเฉลี่ย 66.86 ซึ่งอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (r= .172, p< .05) ระดับน้ำตาลในเลือด (r= -.209, p< .05) การจัดการตนเองด้านสุขภาพ (r= .438, p< .01) และการสนับสนุนทางสังคม (r= .414, p< .01) ส่วนระดับการศึกษา (r= -.030, p= .72) รายได้ (r= -.091, p< .27) และชนิดของภาวะเบาหวาน (r= -.031, p= .71) ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลประเมินปัจจัยเหล่านี้ระหว่างที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานมาฝากครรภ์และควรมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน และเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลรักษาต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9987
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910167.pdf2.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น