กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9987
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอุษา เชื้อหอม
dc.contributor.advisorศิริวรรณ แสงอินทร์
dc.contributor.authorกนกอร ปัญญาโส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:51Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9987
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารก ดังนั้น จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงความสัมพันธ์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะเบาหวาน ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 150 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบวัดคุณภาพชีวิต SF-12 เวอร์ชั่น 2 แบบสอบถามการจัดการตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติสัม ประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพมีค่าเฉลี่ย 66.86 ซึ่งอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (r= .172, p< .05) ระดับน้ำตาลในเลือด (r= -.209, p< .05) การจัดการตนเองด้านสุขภาพ (r= .438, p< .01) และการสนับสนุนทางสังคม (r= .414, p< .01) ส่วนระดับการศึกษา (r= -.030, p= .72) รายได้ (r= -.091, p< .27) และชนิดของภาวะเบาหวาน (r= -.031, p= .71) ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลประเมินปัจจัยเหล่านี้ระหว่างที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานมาฝากครรภ์และควรมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน และเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลรักษาต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์
dc.subjectเบาหวานในสตรีมีครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน
dc.title.alternativeFctors ssocited with helth-relted qulity of life mong pregnnt women with dibetes mellitus in public hospitls, upper northern region thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeFor pregnant women, diabetes mellitus increases the risk of negative maternal and infant health conditions, thus affecting the women’s health-related quality of life. This correlational research study aimed to examine factors associated with health-related quality of life in pregnant women with diabetes mellitus. The sample was 150 pregnant women with diabetes mellitus who attended antenatal services in public hospitals in the upper northern region of Thailand. Research instruments were personal and obstetrics questionnaires, the 12-Item Short-Form HealthSurvey-Version 2(SF-12v2), the self-management questionnaire and the social support questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, Spearman rank correlation coefficient and point biserial correlation coefficient. The results showed that an average health-related quality of life of 66.86, considered a good level. Statistically significant (p< .05), blood sugar levels (r= -.209, p< .05), self-management (r= .438, p< .01) and social support (r= .414, p< .01). Education level (r= -.030, p= .72), income (r= -.091, p< .27) and type of diabetes mellitus (r= -.031, p= .71) were not significantly associated with health-related quality of life. The findings of this study suggest that nurses should assess age, blood sugar level, self-management, and social support during prenatal visits of pregnant women with diabetes mellitus. In addition, activities to promote health-related quality of life knowledge and providing opportunities for families to participate in care activities should enhance health-related quality of life among pregnant women with diabetes mellitus.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910167.pdf2.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น