กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9969
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยณรงค์ เครือนวน | |
dc.contributor.author | วชิรศักดิ์ ติยะวิสุทธิ์ศรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:36:21Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:36:21Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9969 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสระแก้ว 2. ศึกษาปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของที่ดินในบริเวณที่เกิดความเปลี่ยนแปลง 3. หาข้อเสนอแนะ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วมตลอดจน การสัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากชุมชนในบริเวณที่เกิดการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดสระแก้ว จากการศึกษาพบว่า 1. ผลจากการดำเนินงานตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษได้มีการพัฒนาพื้นที่ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดหาแรงงาน และให้สิทธิประโยชน์ในด้านการลงทุน เพื่อเตรียมความพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก และอาจสร้างผลกระทบให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกในอนาคตทั้งทางด้านบวกทำให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเจริญเติบโต สร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และผลทางด้านลบเกิดความแออัดในชุมชน ปัญหาทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมจากมลพิษทางอุตสาหกรรม และการำนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่า 2. ความขัดแย้งในเรื่องที่ดินที่เกิดขึ้นจาการจัดทำผังเมืองและการแบ่งเขตสีที่ดินไม่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน และการเวนคืนพื้นที่ป่าชุมชนซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ไปใช้ในการพัฒนาได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ถือเป็นการพรากสิทธิ์ในที่ดินทำกินของตนเอง ถูกลิดรอนสิทธิจนต้องกลายเป็นผู้เสียผลประโยชน์จนเกิดการร่วมตัวกันของชาวบ้านออกมาต่อต้าน คัดค้านการดำเนินนโยบายของรัฐ 3. ทางรัฐบาลจึงควรให้ความความเข้าใจแก่ประชาชน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาจัดสรรที่ดิน และออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนอย่างถูกต้องพร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน และการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมา | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์การเมือง | |
dc.subject | เขตเศรษฐกิจพิเศษ -- ไทย (ภาคตะวันออก) -- สระแก้ว | |
dc.subject | การพัฒนาเศรษฐกิจ -- สระแก้ว | |
dc.title | เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว : กรณีสภาพความขัดแย้งเรื่องที่ดินในช่วงปี 2557-2562 | |
dc.title.alternative | Politicl economy of development for specil economic zone in skeo: cse study of lnd conflicts between 2014 -2019 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study is a qualitative research with the objective of 1.Study the changes that occurred after the establishment of special economic zone in Sa-Kaeo province. 2.Study the problems of land conflicts in the area of change. 3.Search suggestions or solutions for land problems. By collecting information from relevant documents, Participatory and nonparticipatory observation, as well as in-depth interviews from stakeholder groups such as government agencies, local government organization, and from communities in the area of development as a special economic zone in the border area of Sa-Kaeo Province. From the study found that 1. The result of the implementation of the Special Economic Zone policy has developed the area, Improve infrastructure, establish industrial estates, recruit labor, and provide investment benefits. For support the operation of the private sector. Resulting in dramatic changes in the way of life of the people in the area and may cause impact to change again in the future. On the positive side, the local economy is growing, creating careers and increasing income for people in the area. On the negative side, there was congestion in the community, Increasing social problems, economic inequality, environment is deteriorated from industrial pollution. 2. Land conflicts arising from town planning and land zoning are not consistent with the way of life of the villagers, and expropriation of community forest areas, which are public lands, used for development. Has created resentment for the villagers in the area, depriving rights of land. The collaboration of the villagers came out against, screening government policies. 3. The government should provide knowledge, understanding for the people, allow everyone to participate in the development of land allocation, issue land title deeds to local people, promote agricultural development and industrial development concurrently. For the benefit of all parties, helps reduce conflicts and the subsequent sustainable development. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910283.pdf | 11.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น