กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9947
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์โปรตีโอมในเซลล์อสุจิของหอยนางรมปากจีบ Saccostrea cuccullata
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sperm proteome nlysis of the hooded oyster sccostre cuccullt
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทิน กิ่งทอง
กุลนิษฐ์ ถนอมจิตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: หอยนางรมปากจีบ -- การขยายพันธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หอยนางรมปากจีบ Saccostrea cuccullata เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญและมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย การผสมเทียมตัวอ่อนเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้ในระบบเพาะเลี้ยงหอยนางรมด้วยวิธี stripping หรือ spawning เพื่อใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการผสมเทียม อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการผสมพันธุ์และคุณภาพของตัวอ่อนที่ได้จากระบบ เพาะเลี้ยงในวิธีดังกล่าวยังไม่คงที่เนื่องจากยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความสมบูรณ์ของเซลล์สืบพันธุ์ และคุณภาพของน้ำเชื้อ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์และการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและเพื่อวิเคราะห์และจำแนกชนิดโปรตีนทั้งหมดที่พบในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของหอยนางรมปากจีบ ผู้วิจัยใช้วิธีในการเก็บเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ 2 วิธี คือ spawning และ stripping จากนั้นใช้วิธี 2D gel electrophoresis ในการแยกโปรตีน โปรตีนที่ได้ทั้งหมดถูกนำมาตัด จากนั้นทำการย่อยโปรตีนด้วย trypsin และใช้ LC-MS/MS และ bioinformatics ในการระบุชนิดโปรตีน ผลการวิจัยพบว่า สามารถระบุชนิดโปรตีนได้ทั้งหมด 188 spots เป็นโปรตีนทั้งหมด 112 ชนิด โดยแยกโปรตีนเป็นกลุ่มซึ่งแบ่งตามแหล่งที่พบได้เป็น 10 กลุ่ม ซึ่งโปรตีนที่พบส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton) เช่น tubulin และกลุ่มโปรตีน tektin นอกจากนี้ยังพบโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานในเซลล์การแบ่งเซลล์การพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และกระบวนการในการปฏิสนธิ (acrosomal process) ร่วมด้วย ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยทำการสร้างแผนที่อ้างอิงโปรตีน (reference map) ที่ระบุชนิดได้ทั้งหมด โดยผลงานวิจัยในครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา เกี่ยวกับหน้าที่ของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในหอยนางรมปากจีบนำไปใช้ในการจำแนกความสมบูรณ์พันธุ์และคุณภาพของน้ำเชื้อได้นอกจากนี้ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคุณภาพของน้ำเชื้อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยนางรม การคัดเลือกเซลล์สืบพันธุ์และการผสมเทียมตัวอ่อนเพื่อพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงหอยนางรมชนิดนี้ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9947
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910212.pdf9.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น