กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9944
ชื่อเรื่อง: กระบวนแบบถนิมพิมพาภรณ์ : แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Embellishment “tnim pimpporn style”: conceptul design for jewelry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
กนกวรรณ ใจหาญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
เครื่องประดับ -- การออกแบบ
เครื่องประดับ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ไทยใน 3 ยุคสมัย คือ สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-5) 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับไทยสู่สาระคุณค่าของความหมายใหม่และ 3) เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องประดับร่วมสมัยสำหรับสตรีที่ตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคโดย รูปแบบถนิมพิมพาภรณ์ที่นำมาวิเคราะห์มาจากงานประติมากรรม ปฏิมากรรม และเครื่องประดับ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลชั้นปฐมภูมิโดยการลงพื้นที่ภาคสนามใน 4 จังหวัดของประเทศไทยและข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการนำมาจัดกลุ่มและประเภทถนิมพิมพาภรณ์ตามตำแหน่งของการสวมใส่บนร่างกายแล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความวิเคราะห์ในมิติของการออกแบบเครื่องประดับ และวิเคราะห์กระบวนแบบเครื่องประดับตะวันตกใน 3 ยุค แล้วสังเคราะห์พหุลักษณ์เครื่องประดับไทยและตะวันตก จากแนวคิดดังกล่าว สู่แนวทางการออกแบบรูปลักษณ์ เครื่องประดับด้วยการบูรณาการลักษณะไทยกับลักษณะตะวันตกจึงได้โมเดลแนวคิดการออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับไทยร่วมสมัย จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1. สไตล์โกธิค อาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค 2. สไตล์ผสม โดยนำสัญญะของกระบวนแบบถนิมพิมพาภรณ์ผสมผสานกับสัญญะเครื่องประดับตะวันตก 3 สไตล์ คือ โกธิค อาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค มาออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับร่วมสมัย สำหรับสตรีที่คงกลิ่นอายความเป็นไทยที่ตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคในบริบทสังคม ปัจจุบัน จำนวน 14 ชุด แล้วนำไปสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มบุคลิกการแต่งกาย คือ กลุ่มที่ 1 สไตล์คลาสสิคกลุ่มที่ 2 สไตล์ธรรมชาติกลุ่มที่ 3 สไตล์โรแมนติกและกลุ่มที่ 4 สไตล์ดรามาติค ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการ ออกแบบรูปลักษณ์เครื่องประดับชุดพริ้งมากที่สุด รองลงมา คือ ชุดสิงห์อโยธยา และเมื่อพิจารณารายกลุ่มบุคลิกการแต่งกายในแต่ละกลุ่ม พบว่า ในแต่ละกลุ่มบุคลิกการแต่งกายมีรสนิยมที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงความชอบและการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับต่างกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9944
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810063.pdf47.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น