กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9942
ชื่อเรื่อง: | ย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำจังหวัดพิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Historicl investigtion of pottery wre in the culturl river bsin of phitsnulok: with guidelines for locl pottery wre development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เดช ไชยคุตร เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง ฐิตาภรณ์ แหวนเพชร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เครื่องปั้นดินเผาไทย -- พิษณุโลก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก: สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูล เครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก 2) ทดลองและวิเคราะห์วัตถุดิบ ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา 3) วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชน และ 4) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาในตอนที่ 1 พบว่า “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เราจะเห็นได้ว่า เครื่องปั้นดินเผาผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานปรากฏทางโบราณคดีมากมายที่พบในจังหวัดพิษณุโลก และที่บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย พบเตาเผาโบราณ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ยังหลงเหลือและคงความสมบูรณ์อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ได้ตัดผ่านจังหวัดพิษณุโลกด้วย ซึ่งผลการศึกษาในตอนที่ 2 จึงได้ทำการทดลอง และวิเคราะห์วัตถุดิบในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูป ผลการวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบในตอนที่ 3 ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และรักษารูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ผลการดำเนินการในตอนที่ 4 มีการนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนและบรรจุรายวิชาเครื่องปั้นดินเผา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้านนาไก่เขี่ย เพื่อปลูกเจตคติที่ดีต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม ในอดีต สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเตาเผาและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ปรากฏในชุมชนบ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9942 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810068.pdf | 19.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น