กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9902
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนคร ละลอกน้ำ
dc.contributor.advisorฐิติชัย รักบำรุง
dc.contributor.authorธนพงศ์ ศิริบุตรวงษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:32:07Z
dc.date.available2023-09-18T07:32:07Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9902
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 เท่ากับ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะฯ และ 3) เพื่อประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 30 คน ใน 1 ห้องเรียน ซึ่งใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแผนจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบประสิทธิภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1. ได้ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 ชุด ที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/ E2 = 80/ 80 กล่าวคือ ชุดฝึกทักษะที่ 1 มีประสิทธิภาพ = 80.12/ 81.15 ชุดฝึกทักษะที่ 2 มีประสิทธิภาพ = 80.41/ 80.00ชุดฝึกทักษะที่ 3 มีประสิทธิภาพ = 82.22/ 81.25 ชุดฝึกทักษะที่ 4 มีประสิทธิภาพ = 82.21/ 81.15 ชุดฝึกทักษะที่ 5 มีประสิทธิภาพ = 81.22/ 81.04 และชุดฝึกทักษะ ที่ 6 มีประสิทธิภาพ = 80.04/ 81.15 2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.826 หรือ คิดเป็นร้อยละ 82.60 3. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ อยู่ในระดับดี
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subjectวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
dc.subjectขลุ่ยเพียงออ -- การสอนด้วยสื่อ
dc.titleการพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternativeThe development of exercise pckges of video medi in rts lernning re on klue pheng-ow plying skill for prthomsuks 5 students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were; 1) to develop exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill for Prathomsuksa 5 students to meet the E1/ E2 criteria, 2) to determine the effectiveness index of the developed exercise packages of video media and, 3) to assess skills of playing Klue Phaeng-Aow after learning with the exercise packages of video media. The population consisted of 30 students of Prathomsuksa 5/ 4 at Tessaban Wat Kod Tim Ta Ram School, Rayong province which was obtained by cluster random sampling, using the classroom as a random unit. The research instruments were; the exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill, learning achievement test, skill assessment of Klue Phaeng-Aow playing, and lesson plan on the subject. The statistics used for the data analysis were percentage, mean, and E1/ E2. The results were that; 1. The exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill for Prathomsuksa 5 students were developed, all of them met the E1/ E2 efficiency criteria that; exercise packages 1 was at 80.12/ 81.15, exercise packages 2 was at 80.41/ 80.00, exercise packages 3 was at 82.22/ 81.25, exercise packages 4 was at 82.21/ 81.15, exercise packages 5 was at 81.22/ 81.04, and exercise packages 6 was at 80.04/ 81.15 2. The effectiveness index of the developed package was at 0.826. 3. The students who learned with the exercise packages possessed Klue Phaeng-Aow playing skill at the high level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920555.pdf7.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น