กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9900
ชื่อเรื่อง: | การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้นวิชาฟิสิกส์เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนระดับชั้นศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The construction of four-tier dignostic test for detecting physics misconceptions in work nd energy for the 10th grde students in school under the secondry eduction service re office 18 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพงษ์ ปั้นหุ่น สุรีพร อนุศาสนนันท์ ภัสสุภา สุขสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | แบบทดสอบวินิจฉัย พลังงาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา ฟิสิกส์ -- แบบทดสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แบบสี่ชั้นในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ตรวจสอบ คุณภาพของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นในด้านความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบ 3) เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อน และ 4) สร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้น ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 18 จำนวน 701 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แบบสี่ชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า ได้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้นในการเรียน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนแบบสี่ชั้น ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง .80-1.00 มีค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน อยู่ระหว่าง .72-0.95 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่าความยากชั้นที่ 1 ร่วมกับชั้นที่ 2 ร่วมกับชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 มีค่าอยู่ระหว่าง .38-.44 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Whitney and Sabers มีค่าตั้งแต่ .50-.63 ส่วนค่า ความเชื่อมั่นใช้สูตรของ Livingston มีค่าอยู่ระหว่าง .91-.97 สำหรับคะแนนจุดตัดหาโดยวิธีของ Angoff เท่ากับ 13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลการวินิจฉัย พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่เข้าใจมากที่สุด เรื่อง การหากำลังของงานมโนทัศน์ที่ไม่เข้าใจแนวคิดมากที่สุด เรื่อง ความหมายของพลังงานจลน์ มโนทัศน์เข้าใจแนวคิดผิดมากที่สุด เรื่อง การเปลี่ยนรูปพลังงานตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน และมโนทัศน์ ที่มีความผิดพลาดมากที่สุด เรื่อง ความหมายของแรงอนุรักษ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9900 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920547.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น