กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/979
ชื่อเรื่อง: นิเวศวิทยาของหาดทรายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sandy beach ecology of the East of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก)
นิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะทางนิเวศวิทยาและสถานภาพปัจจุบันของหาดทรายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยทำการเก็บข้อมูลด้านชีวภาพ กายภาพ และทางเคมี จากหาดทรายทั้งหมด 18 หาด ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี จนถึงจังหวัดตราด การศึกษาประชาคมสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ พบสัตว์รวม 40,572 ตัว เฉลี่ย 185.5 ตัว/ม2 แบ่งออกเป็น 76 ชนิดจาก 5 กลุ่มใหญ่ คือ Polychaeta, Crustacea, Gastropoda, Bivalvia และ Echinoderamata โดยหอยสองฝาเป็นกลุ่มที่พบหลากหลายและชุกชุมที่สุด เมื่อพิจารณาลักษณะของหาดทรายแต่ละแห่ง สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งด้านอ่าวไทยตอนในจะมีความหลากหลายและความชุกชุมสูงกว่าหาดทรายที่อยู่ตอนนอกออกมา สำหรับองค์ประกอบของอนุภาคทรายและสีมีความแตกต่างระหว่างหาดทรายที่ทำการศึกษาเช่นกัน โดยหาดทรายที่อยู่บริเวณอ่าวไทยตอนในจะหยาบ ขณะที่หาดทรายที่อยู่ตอนนอกจะละเอียดกว่า แสดงให้เห็นอิทธิพลของคลื่น-ลมที่แตกต่างกัน ส่วนสีของทรายมีความแตกต่างระหว่างหาดและไม่มีรูปแบบที่แน่นอน สีของทรายอยู่ในกลุ่มสีเทาและสีน้ำตาล ความแตกต่างของสีทรายแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของทรายและอิทธิพลเฉพาะพื้นที่ สำหรับคุณสมบัติทางเคมีของน้ำแต่ละหาดมีความผกผันมากจากกิจกรรมจากชุมชนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะบางพระ และศรีราชาที่มีค่าของสารอาหารในน้ำและปริมาณอินทรีย์สารในดินสูง สำหรับหาดบางแสน-วอนนภา แม้สารอาหารในน้ำมีค่าต่ำตั้งแต่ปริมาณสารอินทรีย์มีค่าสูง หาดทรายในภาคตะวันออกแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) หาดทราย reflective ที่เป็นหาดหน้าแคบ มีความหลากหลายและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ต่ำ ได้แก่ หาดพยูน และหาดน้ำริน และหาดแสงจันทร์ 2) หาดทราย Intermediate เป็นหาดที่มีเขตทรายแห้งแคบแต่เขตคลื่นแตกตัวกว้าง มีความหลากหลายและชุกชุมของสัตว์หน้าดินมาก 3) หาดหทรายdissipative เป็นหาดที่มีเขตทรายแห้งกว้างแต่เขตคลื่นแตกตัวแคบ มีความชุกชุมและความหลากหลายของสัตวืที่พบปานกลาง ได้แก่ หาดแม่รำพึง หาดสวนสน และหาดแม่พิมพ์ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์หาดทรายในบริเวณนี้ได้แก่ คลื่นลม ที่มีผลต่อการกำหนดชนิดของหาดและสิ่งมีชีวิตที่พบนั่นเอง นอกจากนี้ปัจจัยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศนี้คือน้ำจากแผ่นดินที่จะนำพาธาตุอาหารมาสู่หาดทรายและน้ำบริเวณชายฝั่ง ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าหาดทรายในภาคตะวันออกถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์มาก เนื่องจากประชากรอยู่หนาแน่นจากการที่เป็นทั้งแหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว รูปแบบการรบกวนหากรุนแรงจะมีผลทางกายภาพ คือเกิดการกัดเซาะทำให้หาดหายไป และหากไม่รุนแรง เช่น การเพิ่มขึ้นของของเสรยจากแผ่นดินทำให้เกิด Eutrophication มีผลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของหาดทรายทั้งทางชีวภาพและทางกายภาพ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/979
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_033.pdf26.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น