กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/94
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพและปลาสวายแบบแช่แข็งเพื่อการผสมเทียม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparative study of sperm cryopreservation in the black ear catfish and striped catfish for artificial insemination |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปลา - - การผสมเทียม - - วิจัย ปลา - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา - - วิจัย ปลาน้ำจืด - - การขยายพันธุ์ - - วิจัย ปลาสวาย - - วิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาวาริชศาสตร์ - - วิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพ (Pangasius larnaudii) แบบแช่แข็ง ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ทดสอบความเป็นพิษของสารละลาย 6 ชนิดคือ DMSO, propylene glycol, glycerol, methanol, sucrose และ ethanol ที่มีความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15%, และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 90, 120, 150 และ 180 และใช้อัตราส่วนน้ำเชื้อต่อสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ เท่ากับ1:1 พบว่า สารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ที่เป็นพิษน้อยที่สุดคือ 10% propylene glycol, 10% DMSO และ 10% methanol สามารถทำให้สเปิร์มมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 180 นาที ตอนที่ 2 ทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพแบบแช่แข็ง โดยใช้น้ำยา Calcium-free Hanks’balanced salt solution (C-F HBSS) เป็น sperm extender และใช้สารละลายไครโอโพรดทคแทนท์ ความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15%, และ 20%) อัตราส่วนน้ำเชื้อต่อน้ำยาต่อสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ เท่ากับ 1:1:1 ทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพแบบแช่แข็ง โดยมีอัตราการลดอุณหาภูมิอย่างรวดเร็ว (-10ซ/วินาที) อัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (-5ซ/นาที) และอัตราการลดอุณหภูมิอย่างช้า (-3ซ/นาที) พบว่า 5% DMSO และ 10% DMSO ที่ระดับอัตราการลดลงอย่างรวดเร็ว มีเปอร์เซ็นท์การเคลื่อนที่ดีที่สุด เท่ากับ 40% หลังจากการทำการละลาย (thawing) น้ำเชื้อที่อุณหภูมิ 70-80C นาน 5 วินาที ตอนที่ 3 การปฏิสนธิของน้ำเชื้อปลาเทโพที่ผ่านการแช่แข็ง พบว่า สารละลาย 15%glycerol, 5%DMSO และ 10% glycerol ในระดับอัตราการลดอุณหภูมิย่างปานกลาง อัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและอัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง ตามลำดับ โดยมีเปอร์เซ็นต์อัตราการปฏิสนธิดีที่สุดเท่ากับ 17.006%, 14.50% และ 13.73% ตามลำดับ การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวาย (Pangasius sutchi)แบบแช่แข็งเริ่มจากการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ ทั้ง 4 ชนิด (glycerol DMSO propylene glycol และ sucrose) ที่ระดับความเข้มข้น 3, 6, 9, 12, และ 15 เปอร์เซนต์ ที่เวลา 0, 30, 60, 90 และ 120 นาที เพื่อหาระยะเวลาสมดุลย์ (equilibration time) พบว่าที่ระยะเวลา 30 นาทีมีความเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ทดลองแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวาย การทดลดงอัตราการลดอุณหภูมิที่ใช้ในการแช่แข็ง 3 ระดับ (-3, -5 และ -10ซ/นาที) และอุณหภูมิที่ใช้ในการละลายน้ำเชื้อแช่แข็ง 3 ระดับ (40, 60 และ 80ซ') ให้ผลการเก็บรักษาไม่แตกต่างกัน เพราะเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มเมื่อถูกกระตุ้นมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่ชนิดและระดับความเข้มข้มของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่ 9% มีความเหมาะสมกว่าที่ระดับอื่น แต่มีเพียงที่ 3% DMSO เท่านั้นที่มีการปฏิสนธิกับไข่ปลาสวาย (38.67%) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/94 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2546_007.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น