กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/94
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.issued2546
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/94
dc.description.abstractการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพ (Pangasius larnaudii) แบบแช่แข็ง ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ทดสอบความเป็นพิษของสารละลาย 6 ชนิดคือ DMSO, propylene glycol, glycerol, methanol, sucrose และ ethanol ที่มีความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15%, และ 20%) ที่เวลา 10, 20, 30, 90, 120, 150 และ 180 และใช้อัตราส่วนน้ำเชื้อต่อสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ เท่ากับ1:1 พบว่า สารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ที่เป็นพิษน้อยที่สุดคือ 10% propylene glycol, 10% DMSO และ 10% methanol สามารถทำให้สเปิร์มมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 180 นาที ตอนที่ 2 ทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพแบบแช่แข็ง โดยใช้น้ำยา Calcium-free Hanks’balanced salt solution (C-F HBSS) เป็น sperm extender และใช้สารละลายไครโอโพรดทคแทนท์ ความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15%, และ 20%) อัตราส่วนน้ำเชื้อต่อน้ำยาต่อสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ เท่ากับ 1:1:1 ทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพแบบแช่แข็ง โดยมีอัตราการลดอุณหาภูมิอย่างรวดเร็ว (-10ซ/วินาที) อัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (-5ซ/นาที) และอัตราการลดอุณหภูมิอย่างช้า (-3ซ/นาที) พบว่า 5% DMSO และ 10% DMSO ที่ระดับอัตราการลดลงอย่างรวดเร็ว มีเปอร์เซ็นท์การเคลื่อนที่ดีที่สุด เท่ากับ 40% หลังจากการทำการละลาย (thawing) น้ำเชื้อที่อุณหภูมิ 70-80C นาน 5 วินาที ตอนที่ 3 การปฏิสนธิของน้ำเชื้อปลาเทโพที่ผ่านการแช่แข็ง พบว่า สารละลาย 15%glycerol, 5%DMSO และ 10% glycerol ในระดับอัตราการลดอุณหภูมิย่างปานกลาง อัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและอัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง ตามลำดับ โดยมีเปอร์เซ็นต์อัตราการปฏิสนธิดีที่สุดเท่ากับ 17.006%, 14.50% และ 13.73% ตามลำดับ การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวาย (Pangasius sutchi)แบบแช่แข็งเริ่มจากการทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ ทั้ง 4 ชนิด (glycerol DMSO propylene glycol และ sucrose) ที่ระดับความเข้มข้น 3, 6, 9, 12, และ 15 เปอร์เซนต์ ที่เวลา 0, 30, 60, 90 และ 120 นาที เพื่อหาระยะเวลาสมดุลย์ (equilibration time) พบว่าที่ระยะเวลา 30 นาทีมีความเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ทดลองแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวาย การทดลดงอัตราการลดอุณหภูมิที่ใช้ในการแช่แข็ง 3 ระดับ (-3, -5 และ -10ซ/นาที) และอุณหภูมิที่ใช้ในการละลายน้ำเชื้อแช่แข็ง 3 ระดับ (40, 60 และ 80ซ') ให้ผลการเก็บรักษาไม่แตกต่างกัน เพราะเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มเมื่อถูกกระตุ้นมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่ชนิดและระดับความเข้มข้มของสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่ 9% มีความเหมาะสมกว่าที่ระดับอื่น แต่มีเพียงที่ 3% DMSO เท่านั้นที่มีการปฏิสนธิกับไข่ปลาสวาย (38.67%)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปลา - - การผสมเทียม - - วิจัยth_TH
dc.subjectปลา - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา - - วิจัยth_TH
dc.subjectปลาน้ำจืด - - การขยายพันธุ์ - - วิจัยth_TH
dc.subjectปลาสวาย - - วิจัยth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาวาริชศาสตร์ - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาเทโพและปลาสวายแบบแช่แข็งเพื่อการผสมเทียมth_TH
dc.title.alternativeComparative study of sperm cryopreservation in the black ear catfish and striped catfish for artificial inseminationen
dc.typeResearch
dc.year2546
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to evaluate the toxicity affect of cryoprotectants on sperm motility and study the effect of cooling rate on sperm cryopresercation of black ear catfish (Pangasius larnaudi) and striped catfish ((Pangasius sutchi). In the first experiment, six cryopeotectant solutions ( DMSO, propylene glycol, glycerol, methanol, sucrose and ethanol) were prepared and diluted with P. motility milt at four concentration levels (5%, 10%, 15% and 20%) prior to assessment of sperm motility at different time (10, 20, 30, 60, 90, 120, 150 and 180 minutes) at a dilution ratio of 1:1. The results indicated that 10% propylene glycol, 10% DMSO and 10% methanol were the least toxic cryoprotectants, since the motility were maintained up to 180 minute before lose of motility. In the second experiment, P. larnaidii milt was cryopreserved using Calcium-free Hank’s balanced salt solution (C-F HBSS) with various cryoprotectant solution concentration (5%, 10%, 15% and 20%) at ratio 1:1:1 respectively. There rate of cooling (slow freezing, medium freezing and fast freezing) were used during cryopreservation of sample. The result indicated that milt samples cryopreserved witg 5% DMSO and 10%DMSO at the fast freezing rate had the highest sperm motility (40%) after thawing at 70-80C for 5 second, compared to other treatment. In the third experiment, P. larnaudii milt sample cryopreserved with 15% glycerol, 5% DMSO and 10% glycerol at the medium freezing, fast freezing and medium freezing, respectively, resulted in the fertilization rates of 17.061.25%,14.50,3.37% and 13.73, 0.55%, respectively. In oder to determine the toxicity of cryoprotectants on sperm motility of P.sutchi,milt samples were diluted with four cryoprotectants; glycerol, dimethyl sulfoxide (DMSO), propylene glycol and sucrose at 3%, 6%, 9%, 12% and 15% and evaluated for toxicity on the percentage of sperm motility at different time periods; 30, 60, 90 and 120 minutes after the beginning of the experiment. The results showed that the suitable equilibration time should not be over 0-30 minutes. Freezing rates for cryopreservation no significant differences (P>0.05) in freezing rates and thawing temperatures. The use of 9% DMSO seemed to be the most suitable cryoprotectant used for crypreservation of P. sutchi milt. Fertilization rates (39%,1.2 %) was observed only in the treatment using 3% DMSO, compared to the freshly collected milt control (100%)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2546_007.pdf1.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น