กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9349
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภาวดี เพชรชื่นสกุล-
dc.contributor.authorนิสาชล กาญจนพิชิต-
dc.date.accessioned2023-09-15T02:25:42Z-
dc.date.available2023-09-15T02:25:42Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9349-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) 2) ตรวจความตรงของบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) และ 3) ศึกษาผลการใช้บทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสาหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) ที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 248 คน) ระยะที่ 2 การตรวจความตรงของบทเรียนออนไลน์ และระยะที่ 3 การนำบทเรียนออนไลน์ไปใช้ (กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 60 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจสภาพและความต้องการของนิสิต ในการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) แบบออนไลน์ 2) บทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 3) แบบทดสอบหลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อหลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การทดสอบค่าที (t-test) ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) ที่ประกอบไปด้วย 1) เนื้อหาของบทเรียน จำนวน 2 โมดูล 12 บทเรียน 2) สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ 3) แบบฝึกหัดท้ายบท 4) การสอบหรือการประเมินผลของการเรียน พบว่า 1. ผลการศึกษาความตรงด้านเนื้อหาของบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) พบว่า ความตรงด้านเนื้อหาของบทเรียนออนไลน์ เท่ากับ .96 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และผลการตรวจความตรงด้านรูปแบบของบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) พบว่า ความตรงด้านรูปแบบของบทเรียนออนไลน์ในภาพรวมเท่ากับ 1.00 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทั้ง 2 ครั้ง พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC) พบว่า นิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectทักษะการรู้สารสนเทศth_TH
dc.subjectบทเรียนออนไลน์th_TH
dc.subjectรููปแบบการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectมูค (MOOC)th_TH
dc.titleการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC)th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2566th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) Developing online lessons Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University Using the online remote learning model (MOOC). 2) Check the validity of online lessons. Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University Using the online remote learning model (MOOC), and 3) Study the results of using online lessons. Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University Using the online remote learning model (MOOC). The research method was divided into 3 phases: Phase 1: Developing online lessons (sample group were 248 graduate students, Burapha University in the academic year 2020). Phase 2: Validity Check of Online and Phase 3: Bringing online lessons to use (sample group were 60 graduate students, Burapha University). The tools used in the research were 1) a survey on the conditions and needs of students in distance learning via online remote learning model (MOOC). 2) Online lessons information literacy skills curriculum for graduate students 3) Information literacy skills curriculum test for graduate students, and 4) Graduate student satisfaction assessment form toward the information literacy skills curriculum for graduate students. The statistics used to analyze the data were 1) mean, standard deviation, and 2) t-test. The results of developing online lessons, Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University Using the online remote learning model (MOOC), consisting of 1) Lesson content, 2 modules, 12 lessons 2) Learning materials and learning resources, and 3) Exercises at the end of the chapter 4) Examinations or evaluation of learning, it was found that 1. Results of a study of content validity of online lessons Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University by using the online remote learning model (MOOC), it was found that the content consistency of online lessons was equal to .96, within the acceptable criteria and validity check results, the form of online lessons Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University by using the online remote learning model (MOOC), it was found that the format of the online lesson was overall equal to 1.00, within the acceptable criteria. 2. Achievement with online lessons Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University by using the online remote learning model (MOOC), when comparing the scores of the two times, it was found that the students' post-test scores were significantly higher than before at the .05 level. 3. Evaluation results of graduate students' satisfaction towards online lessons Information Literacy Skills Course for Graduate Students at Burapha University by using the online remote learning model (MOOC), it was found that graduate students were satisfied with online lessons at a high level.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_027.pdf11.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น