กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9262
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมในการให้บริการวิชาการของภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต่อการพัฒนาธุรกิจการแปรรูปอาหาร เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Academic service Readiness of the Department of Food Science, Faculty of Science, Burapha University towards the development of food processing business to support the entry into the Eastern Economic Corridor (EEC)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลลิต ขำวงษ์รัตนโยธิน
เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ุธุรกิจการแปรรูปอาหาร
วิทยาศาสตร์การอาหาร
อาหาร - - การแปรรูป
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อทราบถึงข้อมูลแนวทางการให้บริการวิชาการด้านต่าง ๆ ของภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในส่วนของผู้ขอรับบริการและ ผู้ให้บริการ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ขอรับบริการวิชาการด้านต่าง ๆ ของภาควิชาฯ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางหรือเสริมสร้างความพร้อมในการให้บริการวิชาการของภาควิชาฯ ที่ตรงตามความต้องการ ของผู้ขอรับบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) สามารถกำหนดแนวทางการให้บริการวิชาการในส่วนของการให้บริการวิเคราะห์ และบริการเครื่องมือ คือ ควรจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือที่รองรับการให้บริการที่มีความหลากหลาย และมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่ให้บริการวิเคราะห์โดยตรงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และในส่วนของการให้บริการคำปรึกษาทางวิชาการ คือ ควรมีการประสานงานได้อย่างต่อเนื่อง ไปยังหน่วยงานอื่นในกรณีที่ผู้ขอรับบริการต้องการความรู้ด้านอื่นเพิ่มเติม 2) การศึกษาความต้องการของผู้ขอรับบริการวิชาการด้านต่างๆ จากผลการให้บริการที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2557 - 2563 พบว่า ประเภทหน่วยงานของผู้ขอรับบริการที่มีการขอรับบริการเป็นจำนวนมากที่สุด คือ ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)/บุคคลทั่วไป (35.71%) รองลงมาได้แก่ โรงงาน/หน่วยงานเอกชน (32.14%) และหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/มหาวิทยาลัย (32.14%) โดยประเภทรายการที่มีการขอรับบริการเป็นจำนวนมากที่สุด คือ บริการวิเคราะห์ (46.15%) รองลงมา ได้แก่ บริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ (24.85%) บริการเครื่องมือ (21.30%) และบริการขอใช้ห้องปฏิบัติการและเตรียมตัวอย่าง (7.69%) ตามลำดับ 3) การพัฒนาแนวทางหรือเสริมสร้างความพร้อมในการให้บริการวิชาการ จากผลวิจัยพบว่า ภาควิชาฯ ควรพัฒนาหรือปรับปรุงการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณจัดซื้อเครื่องมือใหม่ เพื่อทดแทนเครื่องเดิมหรือเครื่องมือใหม่ที่มีความครอบคลุมรายการวิเคราะห์ที่ตอบสนองต่อเทคโนโลยี การผลิตอาหารในปัจจุบัน การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมืออยู่เป็นประจำ มีบุคลากรที่ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์โดยตรง มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) หรือมีการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และประสานงานในการให้บริการ อาจารย์ผู้ให้บริการมีการเสริมสร้างความรู้ในด้านอื่นเพิ่มเติม และมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการให้บริการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ปัจจุบันภาควิชาฯ ได้มีการให้บริการวิชาการตามศักยภาพในส่วนของเครื่องมือและบุคลากรที่มีอยู่ และได้มุ่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการให้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ ของผู้ขอรับบริการอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามยังคงมีความพร้อมในการให้บริการวิชาการแก่ผู้ขอรับบริการ ทั้งในแง่ของสถานที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกที่รองรับผู้ขอรับบริการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจการแปรรูปอาหารและมุ่งพัฒนาการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการนี้ให้ตอบรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9262
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_006.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น