กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/925
ชื่อเรื่อง: | วิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Optimizing waterless and low temperature shipping for live juvenile white shrimp (Litopenaeus vannamei) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญรัตน์ ประทุมชาติ กระสินธุ์ หังสพฤกษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การเลี้ยง กุ้งขาว สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การทดลองหาวิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบไม่ใช้น้ำที่อุณหภูมิต่ำได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การทดลองที่ 1 การทดสอบการสลบกุ้ง นำกุ้งขาวจากฟาร์มขนาดความยาว 9-10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กรัม มาสลบในกล่องโฟมขนาด 21 ซม.x33 ซม.x27 ซม. ปริมาตรน้ำ 2 ลิตร ความเค็ม 20 ppt โดยออกแบบการทดลอง 9 ชุดการทดลอง ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่ต้องการลดลง 3 ระดับ ได้แก่ 10 C, 12 C, 15 C และระยะเวลาลดอุณหภูมิน้ำจากอุณหภูมิห้อง (29 C) ลดลงให้ได้ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่เวลา 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง ด้วยน้ำแข็งบดละเอียด และชุดควบคุมที่ใช้อุณหภูมิห้อง การทดลองที่ 2 การทดสอบการลำเลียงกุ้งขาวแบบแห้งนำวิธีการสลบกุ้งขาวที่ดีที่สุด (ลดอุณหภูมิน้ำให้ลดลงเหลือ 10 C ที่ 2 ชั่วโมง) มาใช้ในการสลบโดยใช้กุ้งขาวขนาดเดียวกันจากการทดลองที่ 1 ก่อนการลำเลียงแบบปราศจากน้ำที่มีการควบคุมความชื้นด้วยการฉีดพ่นน้ำและไม่ควบคุมความชื้นในกล่องโฟมขนาดเดียวกันกับการทดลองที่ 1 โดยในแต่ละระบบได้แบ่งการทดลองตามอุณหภูมิที่ใช้ลำเลียงกุ้ง ได้แก่ 10 C, 12 C และ 15 C โดยทดสอบการลำเลียง 5, 7, 9 และ 12 ชั่วโมง ทำการทดลองละ 5 ซ้ำทุกการทดลองในการทดลองที่ 1 และ 2 เมื่อสิ้นสุดการทดลองทุกการทดลอง ทำการปรับอุณหภูมิน้ำสู่สภาวะอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง แล้วตรวจสอบจำนวนกุ้งที่รอดตาย ร่วมกับลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะการทรงตัว สีขาวขุ่นของกล้ามเนื้อลำตัว เก็บเลือดกุ้งของชุดการทดลองของการทดลองที่ 1 ที่มีการรอดตายสูงสุดเพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของ Na, Ca, K, Mg, Cl เปรียบเทียบกับกุ้งชุดควบคุมที่อุณหภูมิห้อง นำข้อมูลไก้แก่ %การรอดตาย % กุ้งที่มีการทรงตัวผิดปกติ % ความขุ่นของกล้ามเนื้อลำตัว ของทดลองของการทดลองที่ 1 หรือ 2 มาทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย analysis of variance และ Duncan’s new multiple range test วิเคราะห์ความแตกต่างของความเข้มข้นของ Na, K, Ca, Cl ด้วย t-test ต่อไป จากผลการทดลองพบว่า ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการการลดอุณหภูมิน้ำจาก 29 C เหลือ 10, 12 และ 15 C โดยพบว่าการลดอุณหภูมิเหลือ 10 C ดีที่สุด กล่าวคือ กุ้งมีอัตราการรอดหลังพักฟื้นสูงสุด (100%) กุ้งมีสภาวะกล้ามเนื้อขาวขุ่นและการทรงตัวผิดปกติต่ำที่สุด (p<0.05) การใช้อุณหภูมิ 10 C มีประสิทธิภาพสูงสุดทุกช่วงเวลาลำเลียงที่ 5, 7, 9 และ 12 ชั่วโมง ทั้งแบบแห้งและแบบแห้งที่มีการควบคุมความชื้น โดยประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันระหว่างการลำเลียงทั้ง 2 แบบ ซึ่งระยะการลำเลียงนาน 7 ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ส่วนการลำเลียงนาน 12 ชั่วโมง ยังมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/925 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น