กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/925
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุญรัตน์ ประทุมชาติ | th |
dc.contributor.author | กระสินธุ์ หังสพฤกษ์ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:52Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:52Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/925 | |
dc.description.abstract | การทดลองหาวิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบไม่ใช้น้ำที่อุณหภูมิต่ำได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การทดลองที่ 1 การทดสอบการสลบกุ้ง นำกุ้งขาวจากฟาร์มขนาดความยาว 9-10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กรัม มาสลบในกล่องโฟมขนาด 21 ซม.x33 ซม.x27 ซม. ปริมาตรน้ำ 2 ลิตร ความเค็ม 20 ppt โดยออกแบบการทดลอง 9 ชุดการทดลอง ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่ต้องการลดลง 3 ระดับ ได้แก่ 10 C, 12 C, 15 C และระยะเวลาลดอุณหภูมิน้ำจากอุณหภูมิห้อง (29 C) ลดลงให้ได้ตามอุณหภูมิเป้าหมายที่เวลา 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง ด้วยน้ำแข็งบดละเอียด และชุดควบคุมที่ใช้อุณหภูมิห้อง การทดลองที่ 2 การทดสอบการลำเลียงกุ้งขาวแบบแห้งนำวิธีการสลบกุ้งขาวที่ดีที่สุด (ลดอุณหภูมิน้ำให้ลดลงเหลือ 10 C ที่ 2 ชั่วโมง) มาใช้ในการสลบโดยใช้กุ้งขาวขนาดเดียวกันจากการทดลองที่ 1 ก่อนการลำเลียงแบบปราศจากน้ำที่มีการควบคุมความชื้นด้วยการฉีดพ่นน้ำและไม่ควบคุมความชื้นในกล่องโฟมขนาดเดียวกันกับการทดลองที่ 1 โดยในแต่ละระบบได้แบ่งการทดลองตามอุณหภูมิที่ใช้ลำเลียงกุ้ง ได้แก่ 10 C, 12 C และ 15 C โดยทดสอบการลำเลียง 5, 7, 9 และ 12 ชั่วโมง ทำการทดลองละ 5 ซ้ำทุกการทดลองในการทดลองที่ 1 และ 2 เมื่อสิ้นสุดการทดลองทุกการทดลอง ทำการปรับอุณหภูมิน้ำสู่สภาวะอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง แล้วตรวจสอบจำนวนกุ้งที่รอดตาย ร่วมกับลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะการทรงตัว สีขาวขุ่นของกล้ามเนื้อลำตัว เก็บเลือดกุ้งของชุดการทดลองของการทดลองที่ 1 ที่มีการรอดตายสูงสุดเพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของ Na, Ca, K, Mg, Cl เปรียบเทียบกับกุ้งชุดควบคุมที่อุณหภูมิห้อง นำข้อมูลไก้แก่ %การรอดตาย % กุ้งที่มีการทรงตัวผิดปกติ % ความขุ่นของกล้ามเนื้อลำตัว ของทดลองของการทดลองที่ 1 หรือ 2 มาทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย analysis of variance และ Duncan’s new multiple range test วิเคราะห์ความแตกต่างของความเข้มข้นของ Na, K, Ca, Cl ด้วย t-test ต่อไป จากผลการทดลองพบว่า ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการการลดอุณหภูมิน้ำจาก 29 C เหลือ 10, 12 และ 15 C โดยพบว่าการลดอุณหภูมิเหลือ 10 C ดีที่สุด กล่าวคือ กุ้งมีอัตราการรอดหลังพักฟื้นสูงสุด (100%) กุ้งมีสภาวะกล้ามเนื้อขาวขุ่นและการทรงตัวผิดปกติต่ำที่สุด (p<0.05) การใช้อุณหภูมิ 10 C มีประสิทธิภาพสูงสุดทุกช่วงเวลาลำเลียงที่ 5, 7, 9 และ 12 ชั่วโมง ทั้งแบบแห้งและแบบแห้งที่มีการควบคุมความชื้น โดยประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันระหว่างการลำเลียงทั้ง 2 แบบ ซึ่งระยะการลำเลียงนาน 7 ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ส่วนการลำเลียงนาน 12 ชั่วโมง ยังมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | ผศ.ดร. บุญรัตน์ ประทุมชาติ ภาควิชาวาริชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชบุรี ดร. กระสินธุ์ หังสพฤกษ์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | กุ้งขาว | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | วิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ | th_TH |
dc.title.alternative | Optimizing waterless and low temperature shipping for live juvenile white shrimp (Litopenaeus vannamei) | en |
dc.type | งานวิจัย | |
dc.year | 2555 | |
dc.description.abstractalternative | The suitable method for waterless transportation of live shrimp (Litopenaeus vannamei) was Divided into 2 experimental steps. Experiment 1: An anaesthetizing test, shrimp with size of 9-10 Em in total length and 8-10 g in total weight were used. The anaesthetizing was conducted by 2 L of 20 ppt medium within 21 cm x 33 cm x 27 cm Styrofoam box. The nine treatments were classified by decreasing period of water temperature from an ambient temperature (29 C) to the target temperature at 10 C, 12 C, 15 C, for 1, 2 and 3 hours and control (at ambient temperature). Experiment 2: Dry transportation test, using the best anaesthetizing method from an experiment 1 (decreasing temperature to 10 C for 2 hours) was applied prior to the waterless transportation test humidity control using water spray and without humidity control. The similar sizes of shrimp and container as experiment 1 were used. Each type of dry transportation test, the treatment was as followed the target temperature of 10 C, 12 C, 15 C, for 5, 7, 9 and 12 hours of transportation. Five replications per treatment both experiment 1 and 2 were operated. After finish the experiment, the experimental shrimp of each treatment both experiments 1 and 2 were acclimated to ambient temperature for 24 hours. Survival rate and external characteristics of Survived shrimps either lack of balance or milky abdominal muscle were recorded. The haemolymph of experimental shrimp from the significantly highest survival treatment were collected for determining the concentrations of Na, K, Ca, Mg and Cl and comparison to control group which held in ambient temperature medium. The percentage of survival, imbalanced and milky muscle of survived shrimp of the treatments either experiment 1 or experiment 2 were statistically using analysis of variance and Duncan’s new multiple range test. Each concentration of Na, K, Ca Mg and Cl between the treatment and control were statistically analyzed bt t-test. The results of anaesthetizing test showed that the most suitable period for decreasing water Temperature from ambient temperature (29 C) to 10, 12 and 15 C was 2 hours. At 10 C was the best temperature which was the significant highest of survival rate (100%) after 24 hours of recovery and the significant lowest in survived shrimp with milky muscle or imbalance (p<0.05). At 10 C was the most efficient for the waterless transportation test with and without humidity control for 5, 7, 9 and 12 hours of transportation. The transportation efficiency was not significantly different between with and without humidity controls. The most efficient period for waterless transportation was 7 hours. The waterless transportation for 12 hours was high possibility with further improvement. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น