กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9214
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of active learning instructional model to enhance the ability in early childhood learning experiences design of early childhood education students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชวง ซ้อนบุญ
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
ลีลาวดี ชนะมาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าก่อนการสอน ขั้นที่ 2 เผชิญปัญหา ขั้นที่ 3 ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ขั้นที่ 4 วางแผน ในการแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 5 ดำเนินการแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอ 4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และรูปแบบมีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.51, SD = 0.50) 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2.1 ผู้เรียนมีความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้เนื้อหาในรายวิชากระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบ การจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ภายหลังการทดลองโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, SD = 0.58)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9214
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810124.pdf2.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น