กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9214
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เชวง ซ้อนบุญ | |
dc.contributor.advisor | วิมลรัตน์ จตุรานนท์ | |
dc.contributor.author | ลีลาวดี ชนะมาร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T09:02:41Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T09:02:41Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9214 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าก่อนการสอน ขั้นที่ 2 เผชิญปัญหา ขั้นที่ 3 ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ขั้นที่ 4 วางแผน ในการแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 5 ดำเนินการแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอ 4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และรูปแบบมีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.51, SD = 0.50) 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2.1 ผู้เรียนมีความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้เนื้อหาในรายวิชากระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบ การจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ภายหลังการทดลองโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, SD = 0.58) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การศึกษาปฐมวัย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย | |
dc.title.alternative | The development of active learning instructional model to enhance the ability in early childhood learning experiences design of early childhood education students | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to develop the active learning instructional model to enhance the ability in early childhood learning experiences design of early childhood education students, to study the effectiveness of the instructional model developed by the researcher, and to study the satisfaction of early childhood education students toward active learning. The research process was divided into 2 phases: Phase 1, the development of instructional model, Phase 2, trial and evaluation of the effectiveness of the instructional model. The samples used in this research were 24 third year early childhood education students in the 1st semester, academic year 2019, the Faculty of Education, Nakhon Phanom University. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows: 1. A 5-components of instruction at model consisted of; 1) the principles of the model, 2) the objectives of the model, 3) the learning management process, which included 6 procedures as follow; 1. presenting an overall conceptual before teaching. 2. encountering an issue, 3. encouraging students by questioning in order to elicit their idea about the solution, 4. planning in methods of acquiring knowledge, 5. operating the methods of acquiring knowledge, 6. Analyzing, summarizing and presenting the result, 4) the learning content, 5) measurement and evaluation of learning. The model revealed overall efficacy at the highest level (average = 4.51, SD = 0.50). 2. Evaluation results of the effectiveness of active learning model to enhance the ability in early childhood learning experiences design of early childhood education students were as follows: 2.1 The learners had higher ability to design learning experiences for early childhood after learning at the percentage of 70, and showed the statistical significance at the .05 level. 2.2 The learners revealed learning achievement concerning learning scores of knowledge in content for the course of Learning Experiences Management for Early Childhood 1 after learning at the percentage of 70 and revealed the statistical significance at the .05 level. 3. The learners revealed their overall satisfaction toward active learning to enhance the ability in early childhood learning experiences design after the experiment at the high level. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | |
dc.degree.name | การศึกษาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57810124.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น