กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9193
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบคุณภาพแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comprison the qulity of multiple choice test between conventionl method nd confidentil mking method using item response theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์
ณพานันท์ ยมจินดา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: แบบทดสอบ -- การออกแบบและการสร้าง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
ข้อสอบ
แบบทดสอบ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนน แบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ ในด้านฟังก์ชันสารสนเทศ ความยากและอำนาจจำแนก ความตรงตามสภาพ 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและ ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ ในด้านดังต่อไปนี้ ฟังก์ชันสารสนเทศ และความตรงตามสภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 658 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ จำนวน 30 ข้อ นำมาวิเคราะห์ค่าความยาก, ค่าอำนาจจำแนก และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบเป็นรายข้อ โดยวิเคราะห์ตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ (Item response theory) แบบทวิภาค ที่ใช้โมเดลโลจิสติก (Logistic) 2 พารามิเตอร์ และโมเดลการให้คะแนนความรู้บางส่วน (Genralized partial credit model: GPCM) เปรียบเทียบค่าฟังก์ชันสารสนเทศจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ RE ( ) ระหว่างแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ และค่าความตรงตามสภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าความยากระหว่าง -1.86-4.22 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.13-1.87 และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ พบว่า มีค่าความยากระหว่าง -0.18-4.6 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.14-0.76 2. ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ RE ( ) พบว่า ระดับความสามารถ ( = -2.8 ถึง 0.0) แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดามีค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์สูงกว่าแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ และระดับความสามารถ ( = 0.4 ถึง 2.8) แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจมีค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์สูงกว่าแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดา 3. ค่าความตรงตามสภาพ พบว่า แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดา และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ กับ ระดับผลการเรียน วิชาเคมี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความตรงตามสภาพขึ้นอยู่กับวิธีการให้คะแนนในแต่ละวิธี และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาความตรงตามสภาพสูงกว่า แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9193
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910153.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น