กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9193
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.authorณพานันท์ ยมจินดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:34Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:34Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9193
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนน แบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ ในด้านฟังก์ชันสารสนเทศ ความยากและอำนาจจำแนก ความตรงตามสภาพ 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและ ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ ในด้านดังต่อไปนี้ ฟังก์ชันสารสนเทศ และความตรงตามสภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 658 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ จำนวน 30 ข้อ นำมาวิเคราะห์ค่าความยาก, ค่าอำนาจจำแนก และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบเป็นรายข้อ โดยวิเคราะห์ตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ (Item response theory) แบบทวิภาค ที่ใช้โมเดลโลจิสติก (Logistic) 2 พารามิเตอร์ และโมเดลการให้คะแนนความรู้บางส่วน (Genralized partial credit model: GPCM) เปรียบเทียบค่าฟังก์ชันสารสนเทศจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ RE ( ) ระหว่างแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ และค่าความตรงตามสภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าความยากระหว่าง -1.86-4.22 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.13-1.87 และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ พบว่า มีค่าความยากระหว่าง -0.18-4.6 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.14-0.76 2. ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ RE ( ) พบว่า ระดับความสามารถ ( = -2.8 ถึง 0.0) แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดามีค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์สูงกว่าแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ และระดับความสามารถ ( = 0.4 ถึง 2.8) แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจมีค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์สูงกว่าแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดา 3. ค่าความตรงตามสภาพ พบว่า แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดา และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ กับ ระดับผลการเรียน วิชาเคมี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความตรงตามสภาพขึ้นอยู่กับวิธีการให้คะแนนในแต่ละวิธี และแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาความตรงตามสภาพสูงกว่า แบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบ -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectข้อสอบ
dc.subjectแบบทดสอบ
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพแบบทดสอบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบธรรมดาและให้คะแนนแบบพิจารณาความมั่นใจตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
dc.title.alternativeComprison the qulity of multiple choice test between conventionl method nd confidentil mking method using item response theory
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of study were; 1) to find out the qualities of multiple choice test between conventional method and confidential making method in terms of test information, difficulty and discrimination index, concurrent validity, and 2) to compare the qualities of multiple choice test between conventional method and confidential making method of both test information and concurrent validity. The sample group was 658 grade 10 students in academic year 2017 of the schools under the Office of Secondary Education Service Area 18. The research instrument include was chemistry achievement test on a Stoichiometry, totaling 30 items. The data were analyzed by using IRTPRO in term of difficulty, discrimination index and item information through item response theory method. The model of dichotomously scoring used logistic model 2 parameters for and GPCM for polytomous scoring, the comparison of relative efficiency on test information and concurrent validity. The research findings were as follows; 1. The difficulty and discrimination conventional method using dichotomous logistic 2 parameters are ranged from -1.86-4.22,discrimination are ranged from 0.13-1.87 and confidential making method difficulty are ranged from -0.18-4.6 and the discrimination are ranged from 0.14-0.76. 2. The relative efficiency RE ( ) at ability ( = -2.8 to 0.0) of conventional method was higher than the confidential making method. The relative efficiency RE ( ) of confidential making method ability ( = 0.4 to 2.8) was higher than conventional method. 3. The relationship between grade and test score of chemistry achievement test of both conventional method and confidential making method were significantly related at .01 and the concurrent validity of conventional method is higher than confidential making method.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910153.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น