กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/916
ชื่อเรื่อง: | การลดการปนเปื้อนเชื้อในกลุ่ม Vibrios และโลหะหนักในผลิตภัณฑ์หอยนางรมสด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Depuration of vibrios bacteria and heavy metals contaminations in fresh oyster products |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณา ภาณุตระกูล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การปนเปื้อนในอาหาร โลหะหนัก แบคทีเรียก่อโรค สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | หอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป หอยนางรมดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ และกินอาหารแบบกรองกิน ทำให้มีโอกาสได้รับการปนเปื้อนจุลชีพ เช่นแบคทีเรียก่อโรค และโลหะหนักจากมวลน้ำ ในการศึกษานี้จึงทำการทดลองลดแบคทีเรียได้แก่ แบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrio, V. parahaemolyticus, V. cholera, E. coli และ โลหะหนักในหอยนางรมโดยกระบวนการ Depuration ในระบบน้ำไหลวนแบบปิดขนาดเล็ก ในการทดลองความเข้มข้นของโลหะหนักในหอยนางรมอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภค หอยนางรมจากแหล่งเลี้ยงหอยนางรมจากอ่างศิลาถูกนำมาพักในระบบ Depuration แบบน้ำไหลวน ซึ่งออกแบบให้ถ่านกัมมัรต์ และซีโอไลท์ดูดซับโลหะหนักที่หอยนางรมปลดปล่อยออกมาในน้ำทะเลความเค็ม 25 ส่วนในพันส่วน ทำการทดลองเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วนำตัวอย่างมาวิเคราะห์หาความเข้มข้นของ พบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb และ Zn ที่ 0 ชั่วโมง เท่ากับ 0.08 ± 0.02 µ g/g, 26.85 ± 6.08 µ g/g, 4.12 ± 0.73 ng/g, 0.18 ± 0.02 µ g/g และ 198.35 ± 72.73 µ g/g ตามลำดับ ความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb และ Zn ที่ 48 ชั่วโมง ลดลงเท่ากับ 0.03 ± 0.03 µ g/g, 15.90 ± 4.03 µ g/g, 2.51 ± 0.33 ng/g, 0.14 ± 0.04 µ g/g และ 98.74 ± 51.34 µ g/g ตามลำดับ โดยค่าความเข้มข้นที่ 48 ชั่วโมงของ Cd, Cu, Hg, Pb และ Zn มีค่าความเข้มข้นต่ำกว่าชั่งโมงเริ่มต้น 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ยกเว้น Pb โดยอัตราการลดลงของ Cd, Cu, Hg และ Zn มีค่าเท่ากับ 0.001 µg/hr, 0.228 µg/hr, 0.033 ng/hr และ 2.705 µg/hr ตามลำดับ จากการทดลองนี้พบว่า ระดับความเข้มข้นเริ่มต้นของ Cu และ Zn ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เมื่อผ่านกระบวนการ Depuration แล้วมีค่าลดลงมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปริมาณเข้มข้นของโลหะหนักในหอยนางรมกับเวลาที่ 0 ถึง 48 ชั่วโมง มีความสัมพันธืแบบแปลผกผันเป็นกราฟเชิงเส้น ในกาทดลองแบคทีเรียแบบรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera และ E. coil ในหอยนางรมด้อยแสงอัลตร้าไวโอเลต ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการลดแบคทีเรียในระบบ Depuration แบบน้ำหมุนวนระบบปิด 2 แบบ ที่อัตราการไหลของน้ำ 6 ลิตรต่อนาที และ 3 ลิตรต่อนาที ตัวอย่างหอยนางรมจากแหล่งเลี้ยงหอยนางรมจากอ่างศิลาถูกนำมาพักไว้ในระบบ Depuration แบบน้ำหมุนวนระบบปิด ตรวจวัดปริมาณ แบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera และ E. coil ในหอยนางรมที่ผ่านการลดเชื้อที่เวลา 0, 3, 6, 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่งโมง ผลการศึกษาพบว่าในทั้งสองการทดลองปริมาณแบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus และ V. cholerae ในหอยนางรมมีค่าลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านการ Depuration ได้ 3ชั่วโมง จากนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างชั่วโมงที่ 4-20 แล้วจึงเริ่มลดลงอีกจนไสมารถตรวจวัดได้ที่ชั่วโมงที่ 96 ส่วนปริมาณ E. coli มีค่าเพิ่มขึ้นในชั่วโมงที่ 3 และลดลงจนตรวจไม่พบที่ 96 ชั่วโมง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/916 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น