กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9148
ชื่อเรื่อง: | โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอน บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Plnkton community structure in trt by, trt province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา วิชญา กันบัว อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ วรกานต์ เสถียรวงศ์นุษา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แพลงก์ตอน ประชากรแพลงก์ตอน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการศึกษาโครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด จำนวน 10 สถานีทั้งหมด 3 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์เดือนพฤษภาคม และเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 3 ดิวิชั่น 4 คลาส ได้แก่ ดิวิชั่น Chlorophyta (สาหร่ายสีเขียว) ดิวิชั่น Cyanophyta (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) และดิวิชั่น Chromophyta (สาหร่ายสีน้ำ ตาลแกมทอง) ซึ่ง พบว่า ดิวิชั่น Chromophyta คลาส Bacillariophyceae (ไดอะตอม) มีความหลากหลายมากที่สุด ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์พบทั้งหมด 9 ไฟลัม 29 กลุ่ม โดยพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Calanoid copepod เป็นกลุ่มเด่นตลอดการศึกษาและจากการศึกษาความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชในบริเวณอ่าวตราด ในเดือนกุมภาพันธ์เดือนพฤษภาคม และเดือนสิงหาคม พบว่ามีความหนาแน่นเฉลี่ยของแพลงก์ตอนพืช เท่ากับ 35,771 เซลล์ต่อลิตร 532,120 เซลล์ต่อลิตรและ 855,820 เซลล์ต่อลิตร ตามลำดับ โดยพบว่า มีเพียงเดือนสิงหาคมที่พบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียว ส่วนการศึกษาความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์พบว่ามีความหนาแน่นเฉลี่ยของแพลงก์ตอนสัตว์ในเดือนกุมภาพันธ์เดือนพฤษภาคม และเดือนสิงหาคม เท่ากับ 7,765 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร 4,412 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรและ 10,815 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ในส่วนของโครงสร้างของแพลงก์ตอนในบริเวณอ่าวตราดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน ซึ่งพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต และกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแพลงก์ตอนสัตว์พบกลุ่ม Calanoid copepod, Arrow worm, Comb jellyfish และ Cnidaria Larva ในช่วงที่น้ำมีค่าความเค็มสูงและพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวและกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต และแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Calanoid copepod ในช่วงที่น้ำมีค่าความเค็มต่ำ ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าความเค็มและสารอาหารเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการกระจายของแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9148 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60910015.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น