กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8785
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Work motivtion mong cdemic supporting employees working for fculty of humnities nd socil sciences, burph university |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษฎา นันทเพ็ชร ปัญนลักษณ์ ควรเอี่ยม มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | แรงจูงใจในการทำงาน บุคลากรทางการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 48 คน โดยใช้จากแนวคิดทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg จำแนกตามปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน (Herzberg, 1959) ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกปัจจัยที่เหมาะสมกับสถานที่ปฏิบัติงานในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาวิจัยได้นำสถิติการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยคำสั่ง Compare mean มาใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานเงินรายได้มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับมากที่สุด และการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีระดับแรงจูงใจมากกว่าเพศชาย พนักงานกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป พบว่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ส่วนระดับการศึกษาอนุปริญญา/ ปวส. พบว่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด ในกลุ่มประชากรที่เป็นประเภทพนักงานเงินรายได้พบว่าส่วนใหญ่มีระดับแรงจูงใจในการปฎิบัติงานมากที่สุด ในส่วนของประสบการณ์ทำงานในกลุ่มประชากรที่มีอายุการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีระดับแรงจูงใจในการปฎิบัติงานมากที่สุด |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8785 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930006.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น