Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 48 คน โดยใช้จากแนวคิดทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg จำแนกตามปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน (Herzberg, 1959) ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกปัจจัยที่เหมาะสมกับสถานที่ปฏิบัติงานในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาวิจัยได้นำสถิติการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยคำสั่ง Compare mean มาใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ในระดับมาก โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานเงินรายได้มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับมากที่สุด และการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีระดับแรงจูงใจมากกว่าเพศชาย พนักงานกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป พบว่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ส่วนระดับการศึกษาอนุปริญญา/ ปวส. พบว่ามีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด ในกลุ่มประชากรที่เป็นประเภทพนักงานเงินรายได้พบว่าส่วนใหญ่มีระดับแรงจูงใจในการปฎิบัติงานมากที่สุด ในส่วนของประสบการณ์ทำงานในกลุ่มประชากรที่มีอายุการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีระดับแรงจูงใจในการปฎิบัติงานมากที่สุด