กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8757
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่" ของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evlution of new locl ledership trining progrm in deprtment of cdemic service centre, Burph University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชฎ จันทร์น้อย
พรนิภา อุพลเถียร
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: หลักสูตรท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
ผู้นำชุมชน -- การฝึกอบรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่” ในด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการปัจจัยเบื้องต้นของโครงการกระบวนการของโครงการและผลผลิตของโครงการและศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) การจับฉลากและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สำหรับการบรรยายข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ (In-depth interview) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลสรุปได้ว่า ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท ทำงานราชการ 13 ปีขึ้นไปผลการประเมินผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่” ของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ในมุมมองของผู้เข้ารับการอบรม มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการผ่านเกณฑ์ทั้ง 4 ด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อม (Context) และด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับดีมาก และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับดี ผลการประเมินในมุมมองของผู้จัดโครงการพบว่า ด้านสภาพแวดล้อม (Context) และด้านผลผลิต (Product) และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ประสบความสำเร็จตามแผนแต่ในด้านกระบวนการ (Process) ต้องปรับปรุงด้านการติดตาม และประเมินผลโครงการข้อเสนอแนะ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพาควรจัดโครงการอบรม โดยการหาความต้องการและความจำเป็นอย่างมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และควรปรับปรุงวิธีการและช่องทางในการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการอบรมให้ทั่วถึงข้อเสนอแนะเชิงวิชาการควรศึกษาปัจจัยใน (CIPP model) หัวข้อใดที่มีความสำคัญและศึกษาปัจจัยเบื้องต้น (Input) ใดมีความสำคัญในการจัดโครงการ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8757
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930091.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น