กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8739
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.authorจีรวัฒน์ ไพใหล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:21:02Z
dc.date.available2023-06-06T04:21:02Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8739
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติฯ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 130 คน และใช้รูปแบบการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากใช้แบบสอบถามออนไลน์ (QR Code) ที่มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) สูง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุผลการศึกษาวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพ มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับหนึ่งคือความผูกพันด้านความรู้สึกอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.09) รองลงมา คือความผูกพันต่อเนื่องอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.66) และค่าเฉลี่ยของความผูกพัน น้อยที่สุด คือความผูกพันที่เกิดจากมาตรฐานทางสังคม อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 2.32) ตามลำดับ ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยด้านลักษณะงานสูงที่สุด คือความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน รองลงมาคือความสำคัญของงาน และความก้าวหน้าในงาน ตามลำดับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานสูงที่สุด คือความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร รองลงมาคือความพึ่งพาได้ขององค์กร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล เฉลิมพระเกียรติฯ พบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน คือความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรมากที่สุด (Beta = 0.41) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านักษณะงาน คือความก้าวหน้าในงานมีความสำคัญต่อองค์กร (Beta = 0.30) และปัจจัยลักษณะ ส่วนบุคคลคือระยะเวลาการปฏิบัติงาน (Beta = 0.15) โดยทั้งสามปัจจัยนี้ร่วมกันทำนายหรือ อธิบายความผันแปรของความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 44.00 ( R2 = 0.44)
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพ
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง
dc.title.alternativeFctors ffecting orgniztionl commitment mong professionl nurses working for ryong hospitl in honor of her royl highness princess mh chkri sirindhorn
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining a level of organizational commitment of professional nurses working for Rayong Hospital in Honor of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Also, it intended to study the factors affecting organizational commitment among 130 professional nurses who were recruited a simple random sampling technique. The instrument was an on-line questionnaire with QR code, and a high level of reliability. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, mean, standard deviation, and a test of multiple regressions. The results of the study revealed that these professional nurses demonstrated a moderate level of organizational commitment (mean = 2.86). When considering each aspect of organizational commitment, it was found that the one in relation to affective commitment was ranked at the highest level (mean = 3.09), followed by the ones in relation to continuance commitment (mean = 2.66), and normative commitment (mean = 2.32), respectively. While the aspects of affective and continuance commitment were rated at a moderate level, the normative commitment was rated at the lowest level. Also, it was shown that the subject’s level of opinion on the factors relating to job characteristics was found at a high level. When considering each aspect, the one in relation to having good relationship with co-workers was rated the highest level, followed by the ones relating to work importance, and job advancement, respectively. Regarding the factors relating to work experience, it was rated at a moderate level. In particular, the aspect of self-perceived importance to organization was rated at the highest level by the subjects, followed by the aspect of organizational dependency. In addition, work experience factor, namely self-perceived importance to organization affected the organizational commitment at the highest level (Beta = 0.4), followed by job characteristics factor which involved job advancement having an importance to organization (Beta = 0.30) and personal factor, namely work length (Beta = 0.15). These combined three factors were predictive of the variation of the level of organizational commitment at 44.00% (R2 =0.44).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930128.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น