กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8723
ชื่อเรื่อง: ความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expecttion of the elder's welfre mngement t the phntnikhom municiplity phntnikhom chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์
ณัชธ์เนมิน แตงน้อยธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทย -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้จริงของผู้สูงอายุและระดับความคาดหวังของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้จริงกับระดับความคาดหวังของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีโดยศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 350 คน ผลการวิเคราะห์มาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีพบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความคาดหวัง มีค่าเฉลี่ยมากกว่าการรับรู้จริงและเมื่อพิจารณาแยกตามรายด้าน ในแต่ละส่วน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากโดยอันดับแรกทั้งของการรับรู้จริงและความคาดหวัง ได้แก่ ด้านนันทนาการและผลอันดับสุดท้าย ทั้งของการรับรู้จริงและความคาดหวัง ได้แก่ ด้านรายได้ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาพรวมของการรับรู้จริง มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาพรวมของความคาดหวัง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน พบว่าการรับรู้จริง มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า ความคาดหวัง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ 1) ด้านความคุ้มครองส่งเสริมและการพัฒนาคุณภาพ ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีควรจัดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรืออาสาสมัครในชุมชนด้านการประชาสัมพันธ์ในการชี้แจงข่าวสารกำหนดการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ทราบนัดหมายวันที่แพทย์เคลื่อนที่ไปเยี่ยมบ้านออกตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุบริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุและการกำหนดเป็นแผนงานเชิงนโยบายในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลพนัสนิคม รวมถึงส่วนงานพัฒนาสังคมเกี่ยวกับการติดตามความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ การเข้าถึงการรักษาอาการเจ็บป่วย 2) ด้านรายได้เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยเชิญวิทยากรด้านอาชีพต่าง ๆ มาให้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพ รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ที่ ผู้สูงอายุผลิตได้มาขายในพื้นที่ที่จัดไว้ให้โดยกำหนดนโยบายร่วมกันกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โดยร่วมวางแผนดำเนินการขายและการหาช่องทางตลาด เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำไปกำหนดนโยบายการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งนี้ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษา “แนวทาง การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดมาตรฐานสวัสดิการสังคม ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม” ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมให้เกิดประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8723
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930125.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น