กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8723
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์
dc.contributor.authorณัชธ์เนมิน แตงน้อยธรรม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:20:59Z
dc.date.available2023-06-06T04:20:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8723
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้จริงของผู้สูงอายุและระดับความคาดหวังของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้จริงกับระดับความคาดหวังของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีโดยศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 350 คน ผลการวิเคราะห์มาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีพบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความคาดหวัง มีค่าเฉลี่ยมากกว่าการรับรู้จริงและเมื่อพิจารณาแยกตามรายด้าน ในแต่ละส่วน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากโดยอันดับแรกทั้งของการรับรู้จริงและความคาดหวัง ได้แก่ ด้านนันทนาการและผลอันดับสุดท้าย ทั้งของการรับรู้จริงและความคาดหวัง ได้แก่ ด้านรายได้ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาพรวมของการรับรู้จริง มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาพรวมของความคาดหวัง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน พบว่าการรับรู้จริง มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า ความคาดหวัง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ 1) ด้านความคุ้มครองส่งเสริมและการพัฒนาคุณภาพ ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีควรจัดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรืออาสาสมัครในชุมชนด้านการประชาสัมพันธ์ในการชี้แจงข่าวสารกำหนดการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ทราบนัดหมายวันที่แพทย์เคลื่อนที่ไปเยี่ยมบ้านออกตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุบริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุและการกำหนดเป็นแผนงานเชิงนโยบายในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลพนัสนิคม รวมถึงส่วนงานพัฒนาสังคมเกี่ยวกับการติดตามความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ การเข้าถึงการรักษาอาการเจ็บป่วย 2) ด้านรายได้เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยเชิญวิทยากรด้านอาชีพต่าง ๆ มาให้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพ รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ที่ ผู้สูงอายุผลิตได้มาขายในพื้นที่ที่จัดไว้ให้โดยกำหนดนโยบายร่วมกันกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โดยร่วมวางแผนดำเนินการขายและการหาช่องทางตลาด เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำไปกำหนดนโยบายการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งนี้ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษา “แนวทาง การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดมาตรฐานสวัสดิการสังคม ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม” ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมให้เกิดประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.titleความคาดหวังของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeExpecttion of the elder's welfre mngement t the phntnikhom municiplity phntnikhom chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study entitled “Expectation of the Elder’s Welfare Management at the Phanatnikhom Municipality Phanatnikhom, Chonburi Province” aimed 1) to study the level of true perception of the elderly people and the level of expectation of elder people on social welfare management at the Phanatnikhom Municipality, Chonburi Province and 2) to compare the level of true perception and the level of perception of elder people on social welfare management at the Phanatnikhom Municipality, Chonburi Province. This research was a quantitative research. The Survey Research was used to get the data by collecting from the questionnaire. The participants were 350 elderly people who aged more 60 years old and lived in the Phanatnikhom Municipality, Chonburi Province. The results of analysis the standard of social welfare management of elder people according to the opinion of elderly people who lived in the Phanatnikhom Municipality, Chonburi Province showed the every aspect was high. The percentage of expectation was higher than the true perception. In the case of considering each aspect revealed that they were at high level. The first aspect of both the true perception and the expectation was the recreation, and the last aspect of both the true perception and the expectation was the income. The results of hypothesis testing showed the whole true perception was lower than the whole expectation. When considering the every aspect revealed that the percentage of the true perception was lower than the expectation. The suggestions of this study were 1) the aspect of the protection and the quality improvement of elderly people who lived in the Phanatnikhom Municipality, Chonburi Province; it should establish the Village Health Volunteer or the Village Volunteer for public relations for informing the information about health check of the mobile health units for the elderly, publicizing the information, educating in health knowledge to elderly people and determining the policy framework on helping elderly people under the cooperation with the health promoting hospital and Phanatnikhom hospital, and also the social development section on following of health problems of elderly people and the health care accessibility. 2) the aspect of income, the Phanatnikhom Municipality of Chonburi Province. It should identify the policy on promoting the careers of elderly people who lived within the village for boosting their income by inviting the experts to give a lecture on improvement of professional skills and setting up a booth in specific places under the cooperation of the policy of OTOP organization such as sales planning, marketing channels for earning their continuing income. Moreover, they should receive the healthy eating guideline, the self-care of elder people for their better living. The suggestion getting from the study was to determine the policy on social welfare for elder people to have the better living conditions. The next topic that should study was “the guideline of development and the increasing of efficiency on social welfare improvement in elder people’s club in the Phanatnikhom Municipality” in order to develop effectively the social welfare improvement.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930125.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น