กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8716
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Anlysis of high performnce orgniztion: cse study of the courts of justice under the supervision of the office of the court of justice region ll |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ โพธิสุข จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ เสน่ห์ จุ้ยโต พรนิภา ธนาธรรมนันท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สมรรถนะ ศาลยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงสำหรับศาลยุติธรรม 2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนในองค์ประกอบการสู่องค์การสมรรถนะสูงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO) ของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 4) เพื่อเสนอองค์ประกอบในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของศาลในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม การศึกษาใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพในด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติการ ด้านมุ่งเน้นบุคลากร ด้านนำองค์การ ด้านให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ด้านโครงสร้างองค์การ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษา ผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน/ ฝ่าย เจ้าหน้าที่ในศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาประจำภาค 2 จำนวน 21 แห่ง คิดเป็นจำนวนได้ 408 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และในด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการนำองค์ประกอบที่ได้จากการค้นพบให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เลือกขึ้นมาแบบเจาะจง (Purposive sampling) เพื่อวิพากษ์ยืนยันผลที่ได้มา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO) ในภาพรวม มี 6 องค์ประกอบเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติการ 2) ด้านมุ่งเน้นบุคลากร 3) ด้านนำองค์การ 4) ด้านให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 5) ด้านโครงสร้างองค์การ และ 6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. ผลการตรวจสอบความกลมกลืนในองค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถนะสูงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 มีระดับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง ทุกด้านโดยด้านการนำองค์การมีระดับที่สูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ, ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ, ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. แนวทางในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของศาลในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจะต้องให้ความสำคัญทั้ง 7 ด้าน มากน้อยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ 2) ด้านการนำองค์การ 3) ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 4) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 5) ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7) ด้านแรงจูงใจ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8716 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
55810200.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น