กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8716
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอรรณพ โพธิสุข
dc.contributor.advisorจักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ
dc.contributor.advisorเสน่ห์ จุ้ยโต
dc.contributor.authorพรนิภา ธนาธรรมนันท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.available2023-06-06T04:20:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8716
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงสำหรับศาลยุติธรรม 2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนในองค์ประกอบการสู่องค์การสมรรถนะสูงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO) ของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 4) เพื่อเสนอองค์ประกอบในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของศาลในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม การศึกษาใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพในด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติการ ด้านมุ่งเน้นบุคลากร ด้านนำองค์การ ด้านให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ด้านโครงสร้างองค์การ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษา ผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน/ ฝ่าย เจ้าหน้าที่ในศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาประจำภาค 2 จำนวน 21 แห่ง คิดเป็นจำนวนได้ 408 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และในด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการนำองค์ประกอบที่ได้จากการค้นพบให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เลือกขึ้นมาแบบเจาะจง (Purposive sampling) เพื่อวิพากษ์ยืนยันผลที่ได้มา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO) ในภาพรวม มี 6 องค์ประกอบเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านมุ่งเน้นการปฏิบัติการ 2) ด้านมุ่งเน้นบุคลากร 3) ด้านนำองค์การ 4) ด้านให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 5) ด้านโครงสร้างองค์การ และ 6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. ผลการตรวจสอบความกลมกลืนในองค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถนะสูงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 มีระดับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง ทุกด้านโดยด้านการนำองค์การมีระดับที่สูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ, ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ, ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร, ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4. แนวทางในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของศาลในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจะต้องให้ความสำคัญทั้ง 7 ด้าน มากน้อยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างองค์การ 2) ด้านการนำองค์การ 3) ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 4) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 5) ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ 6) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7) ด้านแรงจูงใจ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subjectสมรรถนะ
dc.subjectศาลยุติธรรม
dc.titleการวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถนะสูง : กรณีศึกษาศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
dc.title.alternativeAnlysis of high performnce orgniztion: cse study of the courts of justice under the supervision of the office of the court of justice region ll
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was fourfold. First, it aimed at examining components influencing becoming high performance organizations of courts of justice. Also, this study intended to investigate the goodness of fit test of components on becoming high performance organizations with the empirical data. Third, this study attempted to examine a level of high performance organizations (HPO) of the courts under the supervision of the Office of the Courts of Justice Region II.The fourth purpose of this study was to propose the components for becoming high performance organizations of the courts under the supervision of the Office of the Courts of Justice Region II. This study used both quantitative and qualitative methods with an emphasis on the aspects of practice, personnel, organizational leadership, service users, organizational structure, information technology and communication. The subjects participating in this study included the judges who were the heads of the courts and the judges responsible for general affairs, division head/section, staff working for provincial courts, district courts, juvenile and family courts under the supervision of under the supervision of the Office of the Courts of Justice Region II.There were altogether 21 courts with 408 participants. The collected data were analyzed by a statistical computer program. Regarding the qualitative data, components found by three experts were purposively selected for the confirmation of the obtained results. The results of the study were as follows: 1. It was found that there were six components affecting becoming high performance organizations. The most important component was related to practice, followed by the components relating to personnel, organizational leadership, service users, organizational structure, information technology and communication, respectively. 2. It was revealed that the goodness of fit test was found between the components of being high performance organizations and the empirical data. 3. The courts under the supervision of the Office of the Courts of Justice Region II demonstrated a high level for every component of being high performance organizations. The component ranked the highest level was the one relating to organizational leadership, followed by the components of service users, process of practice, personnel, information technology and communication, respectively. 4. Regarding the guidelines for developing the organizations to become high performance organizations of the courts of justice under the supervision of the Office of the Courts of Justice Region II, it showed that they should place an importance on 7 components, including organizational structure, organization leadership, service users, personnel, process of practice, information technology and communication, motivation, respectively
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810200.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น