กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8697
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
dc.contributor.advisorชิตพล ชัยมะดัน
dc.contributor.authorชยภัทฒ์ เทสินทโชติ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-06-06T04:14:42Z
dc.date.available2023-06-06T04:14:42Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8697
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์การศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามรูปแบบผู้นำแบบถดถอย รูปแบบผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ รูปแบบผู้นำแบบสร้างสรรค์ รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลางของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษารูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา จังหวัดสระแก้ว และ 4) เพื่ออธิบายเหตุผลเชิงลึกของปัจจัยรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เพื่อสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) และทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่ออธิบายเหตุผลเชิงลึกของรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว โดยวิธีการ สนทนากลุ่ม (Focus group discussion) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบผู้นำของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว รูปแบบผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้นำแบบสร้างสรรค์ รองลงมา ได้แก่ ผู้นำแบบทางสายกลาง ผู้นำแบบทีม ผู้นำแบบถดถอย และผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ 2. การบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการควบคุม อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการวางแผน 3. รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลาง สมการถดถอยมีอำนาจการทำนายหรือพยากรณ์ร้อยละ 57.0 โดยมีความคลาดเคลื่อน มาตรฐานในการทำนายหรือพยากรณ์ เท่ากับ .34 4. เหตุผลเชิงลึกของรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว พบว่า รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลาง ส่งผลทางบวกต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้ผลการปฏิบัติงานออกมามีประสิทธิภาพ และพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกจะเป็นงานนโยบายใหม่จากหน่วยงานระดับที่สูงกว่า นโยบายของตัวผู้นำเอง งานโครงการ กิจกรรมใหม่ ๆ ที่จัดขึ้นภายในองค์กร การจัดงานร่วมกับประชาชน หรืองานชุมชนในพื้นที่
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subjectการปกครองส่วนท้องถิ่น -- สระแก้ว
dc.subjectผู้นำชุมชน -- สระแก้ว
dc.titleรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว
dc.title.alternativeLedership styles ffect to dministrtor’s locl government orgniztion long thicmbodin border, s keo, province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was fourfold. First, it aimed at examining a level of practice of different leadership styles, including impoverished leadership style, authority-compliance leadership style, country club leadership style, team management leadership style, and middle-ofthe-road leadership style among Chief Executives of local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. Second, this study intended to investigate a level of administration among Chief Executive of local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. Also, it was an attempt of this study to determine the leadership styles that influenced the administration of Chief Executives of local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. The last purpose was to explain in-depth the factors of leadership styles affecting the administration of Chief Executives of local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. A mixed-method was used in this study to examine, survey, collect, and analyze the quantitative data. The subjects participating in this study were 234 employees working for local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The collected data were then analyzed by descriptive statistical tests, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. A test of stepwise multiple regression was also administered. In addition, this study explained qualitatively the factors of leadership styles affecting the administration of Chief Executives of local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province via a technique of focus group discussion. The key informants were employees working for local government organizations located along Thai-Cambodian border, Sa-Kaeo Province. The results were as follows: 1. It was revealed that the most prominent leadership style with the highest mean score was a country club leadership style. This was followed by a middle-of-the road leadership style, team management leadership style, and impoverished leadership style. 2. The level of administration of Chief Executives was found at a high level. When considering each aspect of the administration, the one relating to controlling was rated at a high level, followed by managing organizations, leading, and planning. 3. The leadership style prominently influencing the administration of Chief Executives of local government organizations located along Thai-Cambodian border was a team management leadership style. The regression equation was predictive at 57.0%, and the standard error of the estimate was .34. 4. Based on an in-depth analysis, it was shown that two leadership styles, including team management and middle-of-the-road, led to positive satisfaction in working among subordinates. This helped to increase work effectiveness. Finally, the leaders’ behaviors affected new work policies assigned by other top management, the policies made by the Chif Executives themselves, new projects, activities organized by the local government organizations and with the public, or community activities in the areas.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810057.pdf4.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น