กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8679
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกฤช จรินโท
dc.contributor.authorสุพรรณี สาสระแก้ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:14:38Z
dc.date.available2023-06-06T04:14:38Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8679
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทีมรูปแบบการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของ บริษัท ไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของ บริษัทไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำ กัด จำนวน 246 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหุคูณและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างทีม ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของบุคลากร บริษัทไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างทีม ได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายเเละการมีบทบาทร่วมกันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านรูปแบบการสื่อสาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของบุคลากร บริษัท ไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ ช่องทาง สารผู้รับสารการแปลงข่าวสารและข้อมูลย้อนกลับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรเช่นเดียวกัน การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว ได้แก่ การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีการทำงานกับบุคคลอื่นและการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการทำงานเป็นทีม
dc.subjectการสื่อสารในองค์การ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.titleโครงสร้างทีมรูปแบบการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมของ บริษัท ไดอะ เรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด
dc.title.alternativeThe study of tem structure communiction nd dptbility to increse tem efficiency of Di Resibon (Thlnd) Co.,Ltd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research attempts to study team structure, communication pattern, adaptability to increase team efficiency of Dia Resibon (Thailand) Co., Ltd. The subjects in this study were 246 staff working in Dia Resibon (Thailand) Co., Ltd. Questionnaires were distributed to collect quantitative data whilst the statistics to analyze the data included percentage, mean, standard deviation, multiple regression analysis, and correlation coefficient. The findings reveal the relation between team structure and team efficiency of Dia Resibon (Thailand) Co., Ltd. that the team structure factors including having same goal, sharing role to increase teach efficiency at significant level of 0.05. The attitudes in overall were positive and the means were at the high level. For communication pattern factors, channel, message, recipients, message decoding, feedback increased the team efficiency at the significant level of 0.05. Attitudes about these factors in overall were positive and gained high-level means. For adaptability for team efficiency of staff in Dia Resibon (Thailand) Co., Ltd., all factors included ability to learn technology, ability to work with others, adaptability to organization culture contributed to increase team efficiency at significant level of 0.05.when the overall attitudes were positive and reached the highest level
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59710036.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น