กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8679
ชื่อเรื่อง: | โครงสร้างทีมรูปแบบการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมของ บริษัท ไดอะ เรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study of tem structure communiction nd dptbility to increse tem efficiency of Di Resibon (Thlnd) Co.,Ltd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤช จรินโท สุพรรณี สาสระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำงานเป็นทีม การสื่อสารในองค์การ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทีมรูปแบบการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของ บริษัท ไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของ บริษัทไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำ กัด จำนวน 246 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหุคูณและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างทีม ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของบุคลากร บริษัทไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างทีม ได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายเเละการมีบทบาทร่วมกันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านรูปแบบการสื่อสาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของบุคลากร บริษัท ไดอะเรซิบอน (ไทยแลนด์) จำกัด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ ช่องทาง สารผู้รับสารการแปลงข่าวสารและข้อมูลย้อนกลับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรเช่นเดียวกัน การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว ได้แก่ การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีการทำงานกับบุคคลอื่นและการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในเชิงบวกและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8679 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59710036.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น