กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8668
ชื่อเรื่อง: | การประเมินความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กรณีศึกษาอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evlution of the success of the villge's potentil upgrde project to drive bsed economy from the guidelines of the civil stte cse study of Wtthn Nkhon District S Keo Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญญาดา กระจ่างแจ้ง อาทิตย์ วิเศษสิทธางกูร มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ประชารัฐ เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการยกระดับศักยภาพ วิเคราะห์และประเมินผลความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพ หมู่บ้าน และเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการและสามารถเสนอแนะแนวทางที่จะทำให้การดำเนินโครงการเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยศึกษาในอำเภอวัฒนานคร 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบตีความ (Interpretation) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐคือ ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ด้านผู้นำชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านความต้องการของชุมชน ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ด้านเครือข่ายภาครัฐ ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสารและด้านกลไกส่งเสริมการทำ งานร่วมกัน ด้านผลลัพธ์พบว่า ทุกโครงการประชาชนได้ประโยชน์ด้านการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการดำเนินโครงการการใช้ประโยชน์โครงการและเกิดเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านผลลัพธ์ต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดด้อมในชุมชน นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการที่เกิดจากทุนทางสังคม โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน ด้านการดูแลรักษา และด้านการขยายผล มีการต่อยอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและความรู้กับชุมชนต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์และประเมินผลความสำเร็จของโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ พบว่า ด้านผลผลิต (Output) มีการใช้งบประมาณได้ตามเป้าหมายของกำหนดเวลา โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และในด้านภาพรวมของการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์พบว่า ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการทุกโครงการเพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการมีการจัดจ้างประชาชนในพื้นที่ในการดำเนินโครงการ ทำให้ประชาชนได้รับความรู้ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชน ส่วนปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ พบว่า เงื่อนไขการจำกัด งบประมาณและระยะเวลาที่สั้น ส่งผลให้โครงการมีข้อจำกัด ทำให้โครงการส่วนใหญ่ที่เลือกมา เป็นโครงการเฉพาะหน้าไม่ยั่งยืน และไม่เกิดความคุ้มค่าเท่าที่ควร ดังนั้น ควรพิจารณาแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณและระยะเวลาในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการ ประชาชนเกิดการเรียนรู้ในการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาร่วมกันต่อไปในอนาคต |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8668 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59710067.pdf | 5.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น