กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8667
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผักและผลไม้อินทรีย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of n pproprite business model for orgnic frutts nd vegetbles
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
ปัณฑ์ชนิด โพธิกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
เกษตรอินทรีย์
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผักและผลไม้อินทรีย์จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักธุรกิจการเกษตรที่ทำการผลิตผักและผลไม้อินทรีย์ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 8 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากทำเนียบเกษตรอินทรีย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผักและผลไม้อินทรีย์ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ กลุ่มลูกค้าของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียจ์ะเป็นกลุ่มคนที่รักสุขภาพ จึงเลือกผัก และผลไม้ที่มีปลอดภัยจากสารเคมีการเสนอคุณค่าของกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพต้องการบริโภค ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารเคมีซึ่งเป็นการเสนอคุณค่าที่ตรงต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ และลูกค้าเชื่อมั่นในผลผลิตได้จากได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน ช่องทางการนำ คุณค่าไปสู่ลูกค้า คือ ขายผ่านทางหน้าร้าน การตลาดของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยังไม่แพร่หลายโดยมีพ่อค้าคนกลางมาติดต่อซื้อผลผลิตที่หน้าสวนและมีโครงการของรัฐบาลที่มีการจัดตลาดนัดสีเขียวเพื่อสนับสนุนเกษตรกรความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นความสัมพันธ์แบบการพบกัน โดยตรงระหว่างลูกค้ากับผู้ผลิต และลูกค้ากับพ่อค้าคนกลางกระแสรายได้มาจากการขายผักและ ผลไม้อินทรีย์ทรัพยากรหลักคือความรู้ที่ใช้ในการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กิจกรรมหลัก คือ การทำปัจจัยการผลิตที่นำไปใช้ในการบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์นำไปดูแลพืช เพื่อให้ได้ผักและผลไม้อินทรีย์มาจำหน่ายอพาร์ทเนอร์หลักในการหาปัจจัยการผลิตภายนอกผู้ผลิตจะรู้ แหล่งที่มาของวัตถุดิบเหล่านี้อยู่แล้วหรือติดต่อกับรถบรรทุกที่รับจ้างขนย้ายให้หาวัตถุดิบให้ โครงสร้างต้นทุน ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ประกอบด้วยค่าจ้างแรงงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต และค่าปัจจัยการผลิตที่ต้องหาซื้อจากภายนอกเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8667
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59750026.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น