กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8650
ชื่อเรื่อง: | การจัดการห่วงโซ่อุปทานประสิทธิภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันมีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Supply chin mngement efficiency in Oil Plm plntion influencing the strength of Oil Plm enterprises in The Estern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญญาดา กระจ่างแจ้ง จิราวรรณ ไชยพจน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปาล์มน้ำมัน -- การปลูก วิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและประสิทธิภาพ ในการปลูกปาล์มน้ำมัน มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการศึกษา ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออก จำนวน 380 คน สถิติในการศึกษาคือ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน อันดับแรกได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รองลงมา ด้านแรงงาน ด้านวัตถุดิบ ด้านบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีและด้านเงินทุน 2) ประสิทธิภาพในการปลูกปาล์มน้ำมัน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน อันดับแรกได้แก่ ด้านปริมาณ รองลงมา ด้านคุณภาพ ด้านเวลาและด้านค่าใช้จ่าย 3) ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน อันดับแรก ด้านการบริหารในการสร้างภาคีเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รองลงมา ด้านการรวมตัวกันของเกษตรกรในการประกอบธุรกิจ ระดับชุมชน ด้านการส่งเสริมความรู้ความสามารถ ด้านระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้และด้านการตลาด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การจัดการห่วงโซ่อุปทานและประสิทธิภาพในการปลูกปาล์มน้ำมัน มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ประสิทธิภาพในการปลูกปาล์มน้ำมัน (Beta = .357) รองลงมาคือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Beta = .354) โดยตัวแปรทั้งสองสามารถทำนายได้ร้อยละ 15.70 (R square = 0.157) |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8650 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59710056.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น