กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8641
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาแนวทางการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงต่อเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามความเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A guideline study of recruitment nd selection in preprtion for the chnge of estern economic corridor from entrepreneurs in industril section in chonburiprovince |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นุจรี ภาคาสัตย์ วิชุดา ทุเรียนภู่ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสรรหาบุคลากร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงต่อระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามความเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรีโดยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ประกอบการ หรือตัวแทน ผู้ประกอบการที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 16 คน และเจ้าหน้าที่กรมแรงงานในภาคตะวันออก จำนวน 1 คน ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัครของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์การทำงานตรงตามตำแหน่งงาน เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกมากที่สุด และใช้ความรู้ ความสามารถของผู้สมัคร ผลการสอบข้อเขียนและผลการสอบปฏิบัติเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกลำดับถัดมาด้วยส่วนอายุและความชำนาญหรือทักษะ ถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกในบางตำแหน่งงาน เนื่องจากบางตำแหน่งต้องใช้ทักษะหรือความชำนาญในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะช่างและต้องมีการจำกัดอายุเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัคิงานบางตำแหน่ง และพบว่า ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่ไม่มีนโนบายที่จะปรับปรุงหรือ เปลี่ยนแปลงวิธีการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์เนื่องจากเห็นว่า วิธีการรูปแบบเดิมยังสามารถใช้สรรหาผู้สมัครที่มีคุณภาพได้ดีในขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนมีแนวทางการพัฒนาการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงต่อระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ การพิจารณาผู้สมัครที่มีความสามารถทางภาษาการเพิ่มช่องทางการสรรหาโดยสรรหาผ่าน สถานศึกษาการส่งเสริมการเรียนรู้หรือการพัฒนาทักษะของพนักงาน การปรับอัตราการค่าจ้างอย่างเหมาะสมตามตลาดแรงงาน การรับแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพิ่มขึ้น การเพิ่มทักษะในการสัมภาษณ์ของผู้ที่มีหน้าที่สัมภาษณ์และการวางแผนการสรรหาก่อนมีตำแหน่งว่าง เพื่อให้การสรรหาและคัดเลือกของสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรีดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถสรรหาบุคคลได้ตรงตามตำแหน่งที่หน่วยงานต้องการ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8641 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57710169.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น