กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8637
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนุจรี ภาคาสัตย์
dc.contributor.authorภิญญาพร โชชัญยะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:07:09Z
dc.date.available2023-06-06T04:07:09Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8637
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของชาวนาไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการทำนาในประเทศไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนา หรือ “ชาวนาไทย”/ เกษตรดีเด่นที่ได้รับโล่ห์รางวับปราชญ์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18 คน และ 2) กลุ่มตัวแทน เครือข่าย/องคก์รที่เกี่ยวข้องกับ 7 คน และ 3) กลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน และ 4) ศูนย์การเรียนรู้และประสิทธิภาพผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี 1 ศูนย์สมาชิก 39 คน รวมทั้งสิ้น 59 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ สัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. สมรรถนะของชาวนาไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการทำนา ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะมี 3 ด้าน 1) ด้านความรู้ 10 สมรรถนะ 2) ด้านทักษะ 12 สมรรถนะ 3) ด้านคุณลักษณะ 2 สมรรถนะ และประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการทำนา คือ 1) การวัดความสำเร็จที่ระดับการดำรงชีพ และ 2)การวัดความสำแร็จที่ระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะชาวนาไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบอาชีพการทำนาต้องประเมินสมรรถนะตนเองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และพัฒนาความรู้ของตนเองในแต่ละด้านเพื่อยกระดับที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ 2) ปราชญ์ชาวนาควรกำหนดแผนการสืบทอดตำแหน่งของชาวนารุ่นต่อไป 3) ปราชญ์ชาวนาควรวางแผน การพัฒนาตนเองให้มีศัยภาพที่เป็นเลิศ 4) ปราชญค์วรกำหนดเครื่องมือการออกแบบการเรียนรู้ ถ่ายทอดแก่ชาวนา 5) ปราชญ์ควรประเมินชาวนาที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ 6) ปราชญ์ควรออกแบบออกหลักสูตรที่สามารถนำไปสู่การปฎิบัติได้อย่างมีรูปธรรม 7) ปราชญ์ควรบูรณาการ เครือข่ายการสนับสนุนทรัพยากรการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องและประเมินความสำเร็จแต่ละระดับของชาวนาแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบอาชีพชาวนาไทยให้สามารถ หลุดพ้นจากความยากจนสร้างความเข้มแข็งและสามารถอยู่รอดดำรงชีวิตอย่างพอเพียงและยั่งยืนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน”
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectรายได้เกษตร
dc.subjectชาวนา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.titleสมรรถนะของชาวนาไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการทำนา
dc.title.alternativeThe performnce of thi frmers successful in rice
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54870006.pdf21.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น