กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8626
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Tourism mngement model of wter ctivities: study of good governnce prctices of svings coopertives in thilnd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยอดยิ่ง ธนทวี ชัยวุฒิ เขมะรังสี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สหกรณ์ออมทรัพย์ ธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยการศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาลงานวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (Methodology) โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวข้องโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและรัฐวสิาหกิจผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ภาคราชการและสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำ นวน 19 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถสรุป ผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า สหกรณ์มีกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างการบริหางานและการกำ หนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบอย่างชัดเจน จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกอย่างเหมาะสม มีระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบ มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เปิดเผย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิกกรรมการเจ้าหน้าที่สหกรณ์และผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงรับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงานและติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของสหกรณ์มีการพัฒนาคุณภาพกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องหลักความเสมอภาคในการให้บริการและการทำงาน รวมทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สหกรณ์บางส่วน ยังขาดการพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 2.1) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและเสริมสร้างธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม 2.2) กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ตามหลักธรรมาภิบาล 2.3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.4) พัฒนาระบบด้านการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสม 2.5) ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า สหกรณ์จะต้องเพิ่มบทบาทและขีดความสามารถเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสหกรณ์และเป็นที่ยอมรับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยการนำแนวทางการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์ที่ดีมาปรับใช้ในการประกอบธุรกิจของสหกรณ์รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8626 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54870032.pdf | 3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น