กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8626
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorยอดยิ่ง ธนทวี
dc.contributor.authorชัยวุฒิ เขมะรังสี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:07:07Z
dc.date.available2023-06-06T04:07:07Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8626
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยการศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาลงานวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (Methodology) โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวข้องโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและรัฐวสิาหกิจผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ภาคราชการและสหกรณ์ออมทรัพย์รัฐวิสาหกิจรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำ นวน 19 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถสรุป ผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า สหกรณ์มีกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างการบริหางานและการกำ หนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบอย่างชัดเจน จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกอย่างเหมาะสม มีระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบ มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย เปิดเผย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิกกรรมการเจ้าหน้าที่สหกรณ์และผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงรับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงานและติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของสหกรณ์มีการพัฒนาคุณภาพกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องหลักความเสมอภาคในการให้บริการและการทำงาน รวมทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สหกรณ์บางส่วน ยังขาดการพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 2.1) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและเสริมสร้างธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม 2.2) กำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ตามหลักธรรมาภิบาล 2.3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.4) พัฒนาระบบด้านการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสม 2.5) ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า สหกรณ์จะต้องเพิ่มบทบาทและขีดความสามารถเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสหกรณ์และเป็นที่ยอมรับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยการนำแนวทางการบริหารสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการของสหกรณ์ที่ดีมาปรับใช้ในการประกอบธุรกิจของสหกรณ์รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสหกรณ์ออมทรัพย์
dc.subjectธรรมาภิบาล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.titleการศึกษาหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย
dc.title.alternativeTourism mngement model of wter ctivities: study of good governnce prctices of svings coopertives in thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to study good governance of Savings Cooperative in Thailand and to propose ways to develop cooperative management in accordance with good governance principles. The methodology of the research was based on qualitative research. In-depth interviews were conducted with member groups of Savings Cooperatives, which were government agencies and state enterprises. The sample was divided into 2 groups: government’sSavings Cooperatives and state enterprise’s Savings Cooperatives. The total number of samples was 19 sample groups. The results could be summarized as follows: 1. To Thailand’s Savings Cooperatives’ management which was based on good governance principles, it was found that Savings Cooperatives had determined a strategic vision, effective management, and clear structure of the job and the role of each element; provided appropriate welfare to the members; and had a system of internal control, monitoring, follow-up, and evaluation in order to achieve the goals. The cooperatives also thoroughly disclosed and disseminated information and news for members, committees, cooperative staff, and stakeholders. The cooperatives listened to the members’ comments. Savings Cooperatives also allowed members to participate in the management and in monitoring the cooperatives. There was the development of the quality of committees and cooperative staff. In addition, there was a sense of equality in the provision of services and work. The database system was secure and could be used efficiently. However some cooperatives lacked the development and did not strengthen good governance in their organizations. 2. To the development of cooperatives’ management to be in accordance with good governance, it was found that the ways to develop were as follows: 2.1) Develop a system of good governance and strengthen concrete governance. 2.2)Set clear rules, regulations, policies or measures to manage Savings Cooperatives in accordance with good governance. 2.3) Develop efficient and effective information technology system. 2.4) Develop internal control and risk management systems. 2.5) Develop and support the implementation of good corporate governance and corporate governance policy. It was suggested that by adopting a cooperative management approach based on good governanceor good corporate governance, Savings Cooperatives need to increase their roles and capacities to build their credibility so that they were acceptable among stakeholders. In conclusion, Savings Cooperatives should also develop and strengthen good governance in their management with a systematic and concrete way.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการจัดการสาธารณะ
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54870032.pdf3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น