กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8623
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Thi frmer debt mngement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชนนี เมธิโยธิน กวิน มุสิกา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เกษตรกร หนี้สิน (การบัญชี) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับภาวะหนี้สินเกษตรกรไทยในปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจะเป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรที่เคยเป็นหนี้ในอดีตและสามารถฟื้นตัวได้ในปัจจุบัน จำนวน 200 คน ตัวแทนหน่วยงาน ภาครัฐที่ดูแลด้านการเกษตร จำนวน 10 คน และเจ้าหนี้นอกระบบ 5 คน เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินของเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาประเด็นที่จะนำไปยืนยันในการสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนหน่วยงานที่ดูแลหนี้สินเกษตรกรไทย จำนวน 10 คน แล้วจึงทำการสรุป ผลการวิจัยพร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการต่อไป ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทยที่มีประสิทธิภาพในส่วนภาคเกษตรกร คือ 1) การจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) การชำระหนี้ตามกำหนด 3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกู้เงินในระบบ และหลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบ 4) การปลูกพืชไร่สวนผสมหรือปลูกพืช หลากหลายประเภท 5) การให้ความสำคัญกับคุณภาพผลผลิตและความต้องการของตลาด 6) การสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และ7) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่วนของภาครัฐ คือ 1) ประกันราคาผลผลิตเกษตรและหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับความ เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ 2) ให้ความรู้กับเกษตรกรในการปลูกพืชให้เหมาะสมสภาพอากาศ 3) สถาบันเงินทุนภายใต้การกำ กับของรัฐให้ความช่วยเหลือเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขยายวงเงินกู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 4) สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานภาคการเกษตร 5) ให้ความช่วยเหลือในด้านการลดต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรโดยการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน เช่น ปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์และปัจจัยอื่น ๆ ในการผลิตและการต่อยอดไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายออกสู่ตลาด 6) ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างวินัยทางการเงินและให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน 7) ให้คำปรึกษาโครงการและปัญหาต่าง ๆ และการบริหารจัดการความเสี่ยงแก่เกษตรกร และ 8) ให้ความรู้ในการจัดการระบบการเงินและการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8623 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
56870057.pdf | 7.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น