กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8622
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of geoegrphicl indiction products model |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรพต วิรุณราช อิสระ สุวรรณบล พิชญ์วีร์ พลพานิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ สินค้า -- มาตรฐาน สินค้า |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษารูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิธีการและรูปแบบการพัฒนาการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และ (2) เพื่อศึกษาวิธีการการพัฒนาที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขอขึ้นทะเบียนที่จะได้มีวิธีการขึ้นทะเบียนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว มีวิธีการที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุด ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย 5 ด้าน ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ วิธีการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ความสนใจขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยที่ทำให้ขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำเร็จ ปัญหาอุปสรรคการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ซึ่งการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดนโยบายพัฒนาการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์การพัฒนากระบวนการวิธีการและรูปแบบการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และการสนับสนุนหลังการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยรูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน มีปัจจัยแวดล้อมสำคัญของการพัฒนาประกอบด้วย ดังนี้ (1) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มีการคุ้มครองที่ครอบคลุม (2) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างถ่องแท้ก่อนการขึ้นทะเบียน (3) ใช้กระบวนการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยใช้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ (4) สร้างกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายในกลุ่มให้เป็นมาตรฐานและยั่งยืน (5) สร้างระบบตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างมีมาตรฐานสากล (6) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มากขึ้นและแพร่หลาย (7) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พัฒนาตนเอง พัฒนากลุ่มให้มีความเข้มแข็งและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น (8) ส่งเสริมให้พัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้มากที่สุด และ (9) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีศักยภาพนำสินค้าไปขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8622 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
54870034.pdf | 6.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น