กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8613
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์กระบวนการและรูปแบบความเป็นทาสสมัยใหม่ในประเทศไทย: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An nlysis of process nd forms of modern slvery in thilnd: cse study of los migrnt lbor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธี ประศาสน์เศรษฐ
ศุภกฤต ปิติพัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การจ้างงานในต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้ายถิ่นข้ามพรมแดน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพการทํางาน ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น กระบวนการและรูปแบบความเป็น “ทาสสมัยใหม่” รวมทั้งเปรียบเทียบอัตราการขูดรีดระหว่างแรงงาน “เสรี” กับ “ทาส สมัยใหม่” ของแรงงานข้ามชาติลาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1. การย้ายถิ่นข้ามพรมแดน พบว่า แรงงาน “เสรี” ส่วนใหญ่มีการย้ายถิ่นเข้ามาทํางานในประเทศไทยและอาศัยอยู่ตามจังหวัดชายแดนที่มีภูมิประเทศติดต่อกันกับสปป.ลาว มีญาติหรือเพื่อนเป็นกลุ่มบุคคลร่วมเดินทางข้ามแดนโดยใช้เงินทุนของตนเอง แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” ที่มีลักษณะการย้ายถิ่นอาศัยกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีนายหน้า หรือนายจ้างเป็นผู้ร่วมเดินทางและเป็นแหล่งทุนในการข้ามพรมแดน 2. สภาพชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า แรงงาน “เสรี” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับนายจ้าง มีสภาพที่พักอาศัยที่ดี เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคนไทย และส่งเงินกลับภูมิลําเนาเฉลี่ย 20,752.73 บาทต่อปี แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับเพื่อนร่วมงาน และมีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม แออัด เนื่องจากอาศัยอยู่รวมกัน เป็นจํานวนมากและมีสถานที่คับแคบ ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคนไทย เนื่องจากถูกควบคุมและจํากัดเสรีภาพ และไม่มีการส่งเงินกลับภูมิลําเนาเนื่องจากถูกขูดรีดทางเศรษฐกิจจากนายจ้าง ส่วนทักษะด้านภาษา พบว่า ทั้งแรงงาน “เสรี” และ “ทาสสมัยใหม่” สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ยังมีข้อจํากัดด้านทักษะการอ่านและการเขียน 3. สภาพการทํางาน พบว่า ทั้งแรงงาน “เสรี” และ “ทาสสมัยใหม่” ทํางานอยู่ในภาคบริการเป็นหลัก เป็นแรงงานไร้ฝีมือและมีอาชีพหรือลักษณะงานที่หลากหลาย แรงงานใช้เวลาทํางานเฉลี่ย 9.31 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะ “ทาสสมัยใหม่” ส่วนใหญ่มีระยะเวลาทํางานยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไป ด้านค่าจ้าง พบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ย 9,335.36 บาทต่อคนต่อเดือน หากพิจารณาเฉพาะ “ทาสสมัยใหม่” พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างในระดับต่ำมากและมีบางรายที่ไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ด้านระยะเวลาในการรับค่าจ้าง พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานรับค่าจ้างเป็นแบบรายวันและแบบมีระยะเวลาไม่แน่นอน สะท้อนถึงสภาพการทํางานที่ย่ำแย่และเลวร้าย เนื่องจากขาดความมั่นคงทางด้านรายได้ ด้านสวัสดิการ พบว่า แรงงาน “เสรี” กว่าครึ่งหนึ่งมีการให้ที่อยู่อาศัย อาหาร และการรักษายามเจ็บไข้ได้ป่วยเบื้องต้นจากนายจ้างโดยไม่มีการหักเงินจากแรงงาน แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมให้กับแรงงาน 4. ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น พบว่า ตัวแบบปัจจัยดึงดูดมี 4 องค์ประกอบ 11 ตัวแปร โดยองค์ประกอบด้านสังคมมีความสําคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง ตามลําดับ ส่วนตัวแบบปัจจัยผลักดันมี 4 องค์ประกอบ 10 ตัวแปร โดยองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจมีความสําคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง ตามลําดับ 5. รูปแบบความเป็น “ทาสสมัยใหม่” พบว่า จําแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ แรงงานทาส การใช้แรงงานเด็กเยี่ยงทาส และทาสเซ็กส์ 6. กระบวนการเข้าสู่ความเป็น “ทาสสมัยใหม่” แบ่งได้เป็น 6 ขั้นตอน คือ การสรรหาการโฆษณาชวนเชื่อ การข้ามแดน การขนส่ง การควบคุม และการขูดรีด 7. กระบวนการเป็น “ทาสสมัยใหม่” ของแรงงานข้ามชาติลาว พบว่า มิติผู้กระทําการจําแนกได้เป็น 5 ส่วน คือ เจ้าของกิจการ ผู้จัดหา/ นายหน้าผู้นําพา/ผู้ขนส่งผู้ควบคุมดูแล และเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริต มิติเชิงโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์กับความเป็น “ทาสสมัยใหม่” มี 4 ประการ คือ “กองทัพสํารอง” ของแรงงานข้ามชาติ ระบบทุนนิยม การทุจริตคอร์รัปชั่น และลัทธิบริโภคนิยม 8. การเปรียบเทียบอัตราการขูดรีด พบว่า “ทาสสมัยใหม่” มีอัตราการขูดรีดเฉลี่ยสูงกว่าแรงงาน “เสรี” ซึ่งเป็นลักษณะของ “การขูดรีด เกินปกติ”
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8613
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820028.pdf3.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น