กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8613
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุธี ประศาสน์เศรษฐ | |
dc.contributor.author | ศุภกฤต ปิติพัฒน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:02:26Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:02:26Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8613 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้ายถิ่นข้ามพรมแดน สภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพการทํางาน ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น กระบวนการและรูปแบบความเป็น “ทาสสมัยใหม่” รวมทั้งเปรียบเทียบอัตราการขูดรีดระหว่างแรงงาน “เสรี” กับ “ทาส สมัยใหม่” ของแรงงานข้ามชาติลาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ผลจากการวิจัยพบว่า 1. การย้ายถิ่นข้ามพรมแดน พบว่า แรงงาน “เสรี” ส่วนใหญ่มีการย้ายถิ่นเข้ามาทํางานในประเทศไทยและอาศัยอยู่ตามจังหวัดชายแดนที่มีภูมิประเทศติดต่อกันกับสปป.ลาว มีญาติหรือเพื่อนเป็นกลุ่มบุคคลร่วมเดินทางข้ามแดนโดยใช้เงินทุนของตนเอง แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” ที่มีลักษณะการย้ายถิ่นอาศัยกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีนายหน้า หรือนายจ้างเป็นผู้ร่วมเดินทางและเป็นแหล่งทุนในการข้ามพรมแดน 2. สภาพชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า แรงงาน “เสรี” ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับนายจ้าง มีสภาพที่พักอาศัยที่ดี เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคนไทย และส่งเงินกลับภูมิลําเนาเฉลี่ย 20,752.73 บาทต่อปี แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับเพื่อนร่วมงาน และมีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม แออัด เนื่องจากอาศัยอยู่รวมกัน เป็นจํานวนมากและมีสถานที่คับแคบ ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคนไทย เนื่องจากถูกควบคุมและจํากัดเสรีภาพ และไม่มีการส่งเงินกลับภูมิลําเนาเนื่องจากถูกขูดรีดทางเศรษฐกิจจากนายจ้าง ส่วนทักษะด้านภาษา พบว่า ทั้งแรงงาน “เสรี” และ “ทาสสมัยใหม่” สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ยังมีข้อจํากัดด้านทักษะการอ่านและการเขียน 3. สภาพการทํางาน พบว่า ทั้งแรงงาน “เสรี” และ “ทาสสมัยใหม่” ทํางานอยู่ในภาคบริการเป็นหลัก เป็นแรงงานไร้ฝีมือและมีอาชีพหรือลักษณะงานที่หลากหลาย แรงงานใช้เวลาทํางานเฉลี่ย 9.31 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะ “ทาสสมัยใหม่” ส่วนใหญ่มีระยะเวลาทํางานยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไป ด้านค่าจ้าง พบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ย 9,335.36 บาทต่อคนต่อเดือน หากพิจารณาเฉพาะ “ทาสสมัยใหม่” พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างในระดับต่ำมากและมีบางรายที่ไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ด้านระยะเวลาในการรับค่าจ้าง พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานรับค่าจ้างเป็นแบบรายวันและแบบมีระยะเวลาไม่แน่นอน สะท้อนถึงสภาพการทํางานที่ย่ำแย่และเลวร้าย เนื่องจากขาดความมั่นคงทางด้านรายได้ ด้านสวัสดิการ พบว่า แรงงาน “เสรี” กว่าครึ่งหนึ่งมีการให้ที่อยู่อาศัย อาหาร และการรักษายามเจ็บไข้ได้ป่วยเบื้องต้นจากนายจ้างโดยไม่มีการหักเงินจากแรงงาน แตกต่างจาก “ทาสสมัยใหม่” พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมให้กับแรงงาน 4. ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น พบว่า ตัวแบบปัจจัยดึงดูดมี 4 องค์ประกอบ 11 ตัวแปร โดยองค์ประกอบด้านสังคมมีความสําคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง ตามลําดับ ส่วนตัวแบบปัจจัยผลักดันมี 4 องค์ประกอบ 10 ตัวแปร โดยองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจมีความสําคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมือง ตามลําดับ 5. รูปแบบความเป็น “ทาสสมัยใหม่” พบว่า จําแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ แรงงานทาส การใช้แรงงานเด็กเยี่ยงทาส และทาสเซ็กส์ 6. กระบวนการเข้าสู่ความเป็น “ทาสสมัยใหม่” แบ่งได้เป็น 6 ขั้นตอน คือ การสรรหาการโฆษณาชวนเชื่อ การข้ามแดน การขนส่ง การควบคุม และการขูดรีด 7. กระบวนการเป็น “ทาสสมัยใหม่” ของแรงงานข้ามชาติลาว พบว่า มิติผู้กระทําการจําแนกได้เป็น 5 ส่วน คือ เจ้าของกิจการ ผู้จัดหา/ นายหน้าผู้นําพา/ผู้ขนส่งผู้ควบคุมดูแล และเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริต มิติเชิงโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์กับความเป็น “ทาสสมัยใหม่” มี 4 ประการ คือ “กองทัพสํารอง” ของแรงงานข้ามชาติ ระบบทุนนิยม การทุจริตคอร์รัปชั่น และลัทธิบริโภคนิยม 8. การเปรียบเทียบอัตราการขูดรีด พบว่า “ทาสสมัยใหม่” มีอัตราการขูดรีดเฉลี่ยสูงกว่าแรงงาน “เสรี” ซึ่งเป็นลักษณะของ “การขูดรีด เกินปกติ” | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การจ้างงานในต่างประเทศ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.title | การวิเคราะห์กระบวนการและรูปแบบความเป็นทาสสมัยใหม่ในประเทศไทย: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติลาว | |
dc.title.alternative | An nlysis of process nd forms of modern slvery in thilnd: cse study of los migrnt lbor | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the migration, livelihood, working condition, factors affecting migration, process and forms of “modern slavery” and to compare rate of exploitation between “free” labor and “modern slave” of Laos migrant labor. This research is a mixed-method. The findings reveal that 1. Cross-border migration: “free” labors mostly immigrated to Thailand and stayed in border provinces adjoining Lao PDR. They had relatives or friends as accompaniers and used their own fund. Unlike free labors, “modern slaves” would relocate to different regions of Thailand and they had agents or employers as accompaniers with fund source for crossing borders. 2. Livelihood: it was found that “free” labors mostly stayed with employers with good accommodations and they used to participate in social activities with Thai people and delivered money back to their domicile for 20,752.73 Baht/year at average. On the contrary, “modern slaves” mostly stayed with their coworkers with deteriorated and congested accommodations as a number of people stayed in small places and they have never participated in social activities with Thai people. For they were controlled and limited freedom. They did not deliver money back to their domicile due to being economically exploited by employers. As to language skill, it was found that both “free” labors and “modern slaves” could speak Thai fluently but they still had some restrictions about reading and writing. 3. Working condition: the result shows that both “free” labors and “modern slaves” mainly work in service sector and they are unskilled labors with various job descriptions. Most labors had average work hours for 9.31 hours/ day especially “modern slaves” that they mostly worked at least 12 hours. Speaking of wages, it was found that average wage was 9,335.36 Baht/person/month. Specifically considered, “modern slaves” mostly received wage at very low rate and some were not paid by the employers. For duration of wage receiving, the result reveals that nearly half of these labors received daily wage with uncertain period reflecting bad and miserable working condition due to income insecurity. In term of welfare, it was found that nearly half of “free” labors were provided with accommodation, food and basic treatment upon sickness by the employers without deducting money. On the other hand, most “modern slaves” were not provided proper welfares. 4. Factors affecting migration: the findings indicate that pull factors contained 4 elements and 11 variables provided that social element was most important followed by economic, culture and political aspects, respectively. Meanwhile, push factors consisted of 4 elements and 10 variables provided that economic element was mostly crucial followed by social, cultural and political terms, respectively. 5. The forms of “modern slavery” could be categorized into 3 types including slave labor, child slavery and sexual slavery. 6. The process of “modern slavery” could be divided as 6 steps including recruitment, propaganda, cross border, transportation, control and exploitation. 7. The process of “modern slavery” of Laos migrant labor was found that dimension of actors could be divided as 5 parts including business owner, recruiter/agent, carrier/transporter, controller and corrupted government officials. Structural dimensions that were related to “modern slavery” comprised 4 aspects including “reserve army” of migrant labors, Capitalism, corruption as well as consumerism. 8. Comparison of exploitation rate was discovered that “modern slaves” still had exploitation rate higher than “free” labors in manner of “super exploitation” | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57820028.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น